โควิด จ่อกลายพันธ์รุนแรง พบเชื้อในไทยแล้ว 6 ราย

โควิด จ่อกลายพันธ์รุนแรง พบเชื้อในไทยแล้ว 6 ราย

เมื่อวันที่ 14 เม.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้ให้ข้อมูลผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ก Virology and Cell Technology Lab – BIOTEC เกี่ยวกับเรื่องไวรัสสายพันธุ์อังกฤษเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยระบุข้อความว่า

มีรายงานจากหน่วยงาน COVID-19 Genomics (COG-UK) Consortium ของประเทศอังกฤษว่า ไวรัสสายพันธุ์ N501Y.V1 หรือ B1.1.7 หรือ สายพันธุ์อังกฤษ ว่า ไวรัสเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนสำคัญที่ตำแหน่ง 484 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่นักวิจัยเชื่อว่า ทำให้ไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้สามารถทนต่อแอนติบอดีจากวัคซีนอย่างน้อย 2 ค่าย คือ NOVAVAX และ Johnson Johnson ได้มากขึ้น ส่งผลให้ค่าประสิทธิผลของวัคซีนในการป้องกันโรคโควิด-19 จากไวรัสสายพันธุ์นี้ไปไม่ถึง 60 %

ไวรัสสายพันธุ์ B.1.1.7 เดิมที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่กรดอะมิโนตำแหน่ง 484 นี้ ซึ่งถึงแม้ไวรัสจะสามารถติดเข้าสู่ร่างกายมนุษย์และแพร่กระจายเชื้อได้มากกว่าสายพันธุ์ปกติ แต่ ภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นจากวัคซีน (น่าจะทุกค่าย) สามารถจัดการกับไวรัสสายพันธุ์นี้ได้ดีถึงดีมาก ทำให้หลายคนเริ่มเบาใจได้ว่าไวรัสชนิดนี้น่าจะไม่เป็นปัญหาใหญ่ถึงต้อง update วัคซีนกันใหม่ในเร็วๆนี้ แต่ข่าวไม่สู่ดีก็มาจนได้ เมื่อไวรัส B.1.1.7 นี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ตำแหน่ง 484 จาก Glutamate (E) ไปเป็น Lysine (K) เรียกการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า E484K ซึ่งเหมือนกันสายพันธุ์แอฟริกาใต้เลย ทำให้ชัดเจนว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ใช่เป็นการสุ่มเกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่มันมีนัยะสำคัญทางชีววิทยาของไวรัสนี้แน่นอน

นักไวรัสวิทยาที่มหาวิทยาลัย Cambridge นำโดย Prof. Ravi Gupta ได้ทดลองเอายีนสไปค์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มมานี้ (เรียกว่า B1.1.7 + E484K) ไปเปรียบเทียบกับสไปค์ของสายพันธุ์อังกฤษแบบเดิม โดยใส่ระบบไวรัสตัวแทน แล้วถามคำถามว่า ซีรั่มของผู้ที่ได้รับ mRNA vaccine ของ pfizer ที่เคยทราบมาก่อนหน้านี้ว่าจัดการกับไวรัส B.1.1.7 ได้อยู่หมัด ยังสามารถจัดการกับตัวที่เปลี่ยนไปได้หรือไม่ ผลที่ทาง Gupta Lab แสดงออกมาชัดว่า แต่ E484K ตัวเดียว สามารถเปลี่ยนคุณสมบัติของโปรตีนสไปค์ หนีการจับของแอนติบอดีในซีรั่มได้ชัดเจน การเปลี่ยนแปลงที่ E484K ชัดว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของไวรัสเพื่อหนีวัคซีน และ เป็นไปได้สูงว่า เราอาจจะเจอไวรัสที่เปลี่ยนแปลงตำแหน่งนี้เพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ ถ้าวัคซีนเริ่มมีการใช้มากขึ้นๆ ซึ่งเป็นธรรมชาติของไวรัสที่ต้องการอยู่รอดในสภาวะกดดันจากภูมิคุ้มกันของโฮสต์

อย่างไรก็ตาม ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว @Opass Putcharoen เกี่ยวกับโควิดสายพันธุ์ดังกล่าว โดยระบุข้อความว่า

กลายพันธ์รุนแรง

ไวรัสสายพันธุ์ UK ขยับเข้ามาใกล้อีกนิด รายงานของ Scientific Advisory Group for Emergencies meeting (SAGE) ประเทศอังกฤษรายงานเกี่ยวกับชื้อโควิดสายพันธุ์ UK หรือ B.1.1.7 พบว่าแพร่กระจายติดต่อง่ายขึ้น และตอนแรกรายงานว่าความรุนแรงของสายพันธุ์นี้ไม่ต่างจากสายพันธุ์อื่น แต่รายงานภายหลังจากการรวบรวมข้อมูลของหลายๆ โรงพยาบาลในสหราชอาณาจักรพบว่าอาจมีอาการรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์ที่ไม่ใช่ B.1.1.7 สำหรับในเมืองไทย ศูนย์โรคอุบัติใหม่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตรวจพบสายพันธุ์ UK 6 ราย คาดว่าน่าจะพบได้เรื่อยๆ ในชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาจากสหราชอาณาจักร และพบในคนไทยที่เดินทางมาจากอังกฤษและประเทศตะวันออกกลางบางประเทศ ดังนั้นในประเทศไทยขณะนี้จึงมีเคส B.1.1.7 ในผู้ที่เดินทางเข้ามายังไม่มีการติดเชื้อในชุมชนอย่างวงกว้างเหมือนในอังกฤษ อเมริกาและแคนาดา

ตอนนี้ระบบสาธารณสุขด่านหน้าของประเทศไทยสามารถดักไว้ได้ใน ASQ แต่ยังคงต้องมาตรการการป้องกันอย่างเข้มข้น ไม่เฉพาะผู้ที่เดินทางจากสหราชอาณาจักรเท่านั้น เพราะเริ่มเห็นผู้ป่วยมาจากประเทศในแถบตะวันออกกลางด้วย ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ : Opass Putcharoen, Virology and Cell Technology Lab - BIOTEC

ขอบคุณ เดลินิวส์

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ