วุ่นแล้วลุงพล คำแต่ละครั้ง ไม่เคยเหมือนกัน
เมื่อวันที่ 29 ม.ค.64 ทีมข่าวอมรินทร์ ทีวี เดินทางไปพบกับนายประดิษฐ์ อดีตเจ้าของที่ดินบ้านลุงพล และข้าราชการครู ก่อนที่จะยกที่ดินให้สร้างบ้านและก่อสร้างพญานาค เปิดเผยว่า ช่วงปี 2557 ลุงพลได้ย้ายเข้ามาอยู่อาศัยในหมู่บ้านกกกอก ซึ่งมาอาศัยอยู่บ้านตาชาญ จากนั้นปี 2559 ได้ย้ายออกจากบ้าน แล้วมาอาศัยอยู่ที่ลานมัน ข้างบ้านในปัจจุบัน (จุดที่หมอปลาเคยมาทำกิจกรรม)
ในตอนนั้นลุงพลได้กล่าวออกมาว่า พอจะแบ่งที่ดินให้สำหรับสร้างบ้านสักนิดหน่อยไหม ด้วยความเห็นใจเห็นว่าลุงพลเป็นคนดีและคนขยัน จึงได้ชี้ด้วยมือเปล่า บอกจุดที่อนุญาตให้ลุงพลสร้างบ้าน โดยเป็นพื้นที่ลักษณะสามเหลี่ยม จากบริเวณที่สร้างบ้านยาวไปจนถึงจุดสร้างพญานาค และสิ้นสุดบริเวณคอสะพาน แต่การเข้าอยู่อาศัย เป็นการให้โดยเสน่หา เรียกว่าเป็นการยกให้เพราะความเห็นใจ แต่ไม่ได้มีการทำเอกสารสัญญาซื้อขาย เพราะเป็นที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ เป็นที่ดินจับจองเพื่ออยู่อาศัยและทำมาหากิน การยกให้ครั้งนี้จึงไม่ได้เรียกว่าเป็นการซื้อขาย
ภาพจาก ทุบโต๊ะข่าว Amarin TV 34
กระทั่งช่วงปี 2560-2561 ลุงพลและป้าแต๋น เริ่มมีรายได้จากการรับจ้างก รีดยาง รับจ้างชาวบ้านในพื้นที่ ทำให้มีเงินจำนวนหนึ่ง เก็บเงินได้ประมาณ 100,000 บาท นำเงินก้อนดังกล่าวมามอบให้ตน ซึ่งไม่ได้เรียกว่าเป็นการซื้อที่ แต่ให้แทนคำขอบคุณ จากนั้นในช่วงหลังปี 2561 ก็ยังมอบเงินให้อีกจำนวน 50,000 บาท แต่ไม่ได้รับเป็นก้อน มีการแบ่งเป็นเงินย่อย ครั้งละ 10,000-20,000 บาท
ส่วนกรณีที่มีคนร้องเรียนให้เอาผิดกับเจ้าของที่ ตนยืนยันว่าไม่ได้มีความกังวล เพราะที่ดินได้เปลี่ยนมือไปเป็นของลุงพลนานแล้ว และการครอบครองก็ไม่ใช่ชื่อของตน เป็นสิทธิ์และเรื่องของตัวลุงพล ดังนั้นจึงไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องนี้ ส่วนการสร้างพญานาค ตนไม่ได้รู้เห็น หรือรับรู้ เพราะตั้งแต่ให้ที่ดินสร้างบ้านไปแล้ว ก็ไม่ค่อยได้แวะเวียนเข้าไปหา และไม่ได้สนใจ การก่อสร้างต่อเติมทุกอย่างเป็นสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน แต่หากมองว่าต้องทุบพญานาคทิ้ง ตนก็ไม่เห็นด้วย เพราะในเมื่อมีการก่อสร้างไปแล้ว ประกอบกับเจตนาของลุงพลต้องการที่จะยกให้เป็นทรัพย์สมบัติของอำเภอและจังหวัด ก็อยากให้เจ้าหน้าที่คงสภาพพญานาคเอาไว้ เพื่อให้เป็นอนุสรณ์ ให้กับคนรุ่นหลัง รวมถึงสร้างงานสร้างอาชีพให้กับชาวบ้าน
หากย้อนกลับไปที่ตนเริ่มต้นรู้จักกับลุงพล ในสมัยนั้นลุงพลเป็นคนขยันและทำงาน มาช่วยกรี ดยางและดูแลสวนยางเป็นอย่างดี จึงได้ยกที่ดินให้เพื่ออยู่อาศัย และในตอนนั้นก็ไม่ได้สังเกตว่าจะเป็นคนเล่นของ หรือเป็นคนที่มีความเชื่อเรื่องพญานาค เพราะต่างคนต่างอยู่ สนใจแต่เรื่องการทำงาน อีกทั้งส่วนตัวก็ไม่ได้มีความเชื่อเรื่องพวกนี้ จึงไม่ได้สนใจ และไม่เคยเข้าไปถามว่า เป็นคนชอบเรื่องไสยศาสตร์ หรือพญานาคหรือไม่ แต่ทว่าในวันที่ 7 ส.ค.63 ที่ผ่านมา ลุงพล เคยให้สัมภาษณ์ผ่านว่า ผืนดินที่ตนและครอบครัวปลูกสร้างบ้านบริเวณนี้ ตนได้ขอซื้อต่อมาจากคุณครูท่านหนึ่ง เป็นเจ้าของเดิม ซึ่งตนเคารพและนับถือท่าน
ทีมข่าวย้อนบทสัมภาษณ์ของวันที่ 23 ม.ค.64 ลงพื้นที่บ้านพ่อของลุงพล ที่หมู่วังเยี่ยม อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร ไปพูดคุยกับ นายผ่อง วิภา พ่อของลุงพล เปิดเผยว่า หลังจากที่ตนทราบข่าวมรสุมของลุงพล ในฐานะผู้เป็นพ่อตนก็รู้สึกเครียดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งตนก็ยังไม่ได้คุยกับลูกชายเลย เพราะตนไปอยู่ที่บ้านลุงพลตั้งแต่ช่วงที่เขาเอาไม้ตะเคียนขึ้นจากน้ำใหม่ ๆ หลังจากนั้นก็กลับมาอยู่บ้านและไม่ไปนานแล้ว
ทีมข่าวย้อนบทสัมภาษณ์ของวันที่ 23 ม.ค.64 ลงพื้นที่บ้านพ่อของลุงพล ที่หมู่วังเยี่ยม อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร ไปพูดคุยกับ นายผ่อง วิภา พ่อของลุงพล เปิดเผยว่า หลังจากที่ตนทราบข่าวมรสุมของลุงพล ในฐานะผู้เป็นพ่อตนก็รู้สึกเครียดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งตนก็ยังไม่ได้คุยกับลูกชายเลย เพราะตนไปอยู่ที่บ้านลุงพลตั้งแต่ช่วงที่เขาเอาไม้ตะเคียนขึ้นจากน้ำใหม่ ๆ หลังจากนั้นก็กลับมาอยู่บ้านและไม่ไปนานแล้ว
สำหรับบริเวณที่ดินที่สร้างพญานาคนั้น เป็นที่ดินผืนเดียวกันกับที่ดินบ้านของลุงพล ซึ่งลุงพลได้ซื้อไว้หลายปีแล้ว ช่วงที่ลูกชายกลับจากทำงานที่กรุงเทพฯ และไปอยู่หมู่บ้านกกกอก จ.มุกดาหาร โดยตอนนั้นลุงพลก็ได้มายืมเงินจากพ่อแม่และเครือญาติไปซื้อ แต่ตนก็จำไม่ได้ว่าราคาเท่าไร
ขณะที่ลุงพล ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 27 ม.ค.64 ที่ผ่านมา เรื่องการขออนุญาตนั้น ก่อนสร้างได้ประสานแขวงการทางหลวง ปรึกษาเรื่องระยะห่างจากถนน ซึ่งกรมทางหลวงบอกว่าสร้างได้ แต่ไม่ได้ขอกรมป่าไม้ เพราะที่ดินนี้ได้รับเอกสิทธิ์จากครูที่เคารพนับถือ จึงได้ได้จ่ายค่าสินน้ำใจให้เพราะรับของฟรีไม่ได้ แต่ยืนยันว่าไม่ใช่การซื้อขาย ซึ่งเพิ่งเข้าไปคุยกับทางกรมป่าไม้ภายหลังเกิดเรื่อง ทราบว่าเป็นที่ป่าสงวน โดยการก่อสร้างพญานาคนี้ เริ่มมาจากมีความเชื่อในพญานาค ที่มีความเชื่อมโยงกับพุทธศาสนา และหากเชื่อว่าหากใครได้สร้างจะมีบุญบารมีมากขึ้น
นางนลิน เงินนาม หรือป้าถอน เปิดเผยว่า ในช่วงปี 2450-2498 ซึ่งเป็นยุคของปู่ทวด ที่เข้ามาจับจองพื้นที่ในหมู่บ้านกกกอก โดยในช่วงนั้นได้มีหน่วยงานราชการจากกรมที่ดินเข้ามาแบ่งแนวเขต เพื่อให้ชาวบ้านมีที่ทำกินและอยู่อาศัย ซึ่งยุคของทวด จะมีการถือครองเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน คือ ส.ค.1 แบ่งเป็นที่ดินอยู่อาศัย และที่ดินทำกิน โดยในตอนนั้นกรมที่ดินได้แบ่งเป็นที่ดินผืนใหญ่ โดยทราบว่าในหมู่บ้านมีที่ดินถูกแบ่งประมาณ 7 แปลง
ภาพจาก ทุบโต๊ะข่าว Amarin TV 34
แต่ในปัจจุบันยุครุ่นลูกหลาน ได้รับการจัดสรรจากปู่ทวด แบ่งเป็นพื้นที่ขนาดตารางวา เพื่อให้ลูกหลานได้อยู่อาศัยและทำกิน แต่อยู่ภายใต้แปลงที่ดินใหญ่ ส.ค.1 แต่การแบ่งที่ดินย่อย ไม่ได้มีการทำเอกสาร ระบุการครอบครอง ซึ่งจะเป็นชื่อของยุคปู่ทวดที่อยู่ในเอกสารเท่านั้น แต่จะรู้กันเองว่าที่ดินส่วนไหนได้รับแบ่งจากปู่ทวด และถือคลองกันมากว่า 60 ปี ส่วนเรื่องของการซื้อขายในหมู่บ้านยังไม่ทราบว่ามีการซื้อขายเกิดขึ้น เพราะส่วนใหญ่ยังเป็นที่ดินมรดก เป็นที่ดินสำหรับการยกให้ลูกหลานใช้ทำกิน เพราะไม่มีคนนอกเข้ามาจับจองอยู่อาศัย
ทีมข่าวย้อนบทสัมภาษณ์ของลุงพล วันที่ 3 ส.ค.63 ที่ผ่านมา ขณะที่หมอปลาลงพื้นที่เยี่ยมบ้านกกกอก โดยก่อนจะเดินเข้าไปดูการก่อสร้างบ้านของลุงพล เจ้าตัวได้ให้สัมภาษณ์ว่า ไม่มีความคิดที่จะเปิดรับบริจาคซึ่งหมอปลาก็ได้กำชับว่า ไม่นะลุงพล อย่าเอาน้องชมพู่มาหากินเปิดรับบริจาคนะ
คลิป
ขอบคุณ ทุบโต๊ะข่าว