แนวทางช่วยเหลือผู้ประตน ม.33
นายอาคม เติมพิทย าไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ขณะนี้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กระทรวงการคลัง พิจารณาแนวทางช่วยคนที่ยังอยู่นอกความช่วยเหลือของรัฐบาลเพื่อให้ครอบคลุมประชาชนทั่วประเทศ หลังจากที่ผ่านมารัฐบาลมีมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการแพร่กระจายของ CV19 โดยกลุ่มแรกที่ได้รับความช่วยเหลือคือ กลุ่มคนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน 14 ล้านคน กลุ่มที่สองคือ กลุ่มลงทะเบียนโครงการคนละครึ่งและเราเที่ยวด้วยกัน 15 ล้านคน
สำหรับการจะให้สิทธิประโยชน์แก่คนในกลุ่มที่สาม ที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือนั้น จะต้องมีการคัดกรองในระบบก่อน เช่น กรณีเป็นลูกจ้างของรัฐ จะต้องไม่เป็นผู้ที่อยู่ในบัญชีของ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หมายถึงข้าราชการประจำ หรือกรณีที่เป็นพนักงานในบริษัทเอกชน และมีประกันสังคมตามมาตรา 33 จะต้องเป็นบุคคลที่มีรายได้ต่ำ เช่น ลูกจ้างรายวัน ได้เงินวันละ 300-350 บาท ลูกจ้างที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี เป็นต้น ซึ่งขณะนี้กำลังดูรายละเอียดอยู่ว่าจะกำหนดเกณฑ์อย่างไร นายอาคม กล่าวว่า
ที่ผ่านมารัฐบาลเน้นให้ความช่วยเหลือแรงงานนอกระบบ และอาชีพอิสระ ส่วนโครงการเราชนะ ที่ให้เงิน 3,500 บาท จำนวน 2 เดือน รวมเป็น 7,000 บาทนั้น นอกจากเป็นการบรรเทาผลกระทบให้กับประชาชนทั่วไปแล้ว ยังเป็นการช่วยผู้ประกอบการร้านค้าขนาดเล็กรวมถึงหาบแร่แผงลอยที่ไม่ใช่นิติบุคคล ซึ่งการช่วยเหลือขยายไปถึงผู้ประกอบการที่ให้บริการขนส่งสาธารณะด้วย อาทิ รถแท็กซี่ รถสามล้อ (ตุ๊กตุ๊ก) รถจักรยานยนต์รับจ้าง (วินมอเตอร์ไซด์) ระบบรถไฟฟ้า รถเมล์โดยสาร และรถไฟระหว่างเมือง เป็นต้น
สำหรับความช่วยเหลือในส่วนของนายจ้าง เพื่อไม่ให้เลิกจ้างและรักษาระดับการจ้างงานในประเทศนั้น ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมาตรการพักชำระหนี้โดยเฉพาะให้กับ ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งสิ้นสุดโครงการไปแล้วเมื่อเดือนตุลาคม 2563 แต่สถาบันการเงินของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เป็นต้น ยังประกาศขยายเวลาการพักชำระหนี้ไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2564 นี้
ขอบคุณ มติชนออนไลน์