เราชนะ ใช้ผ่านแอพ จี้แจก สมาร์ทโฟน เน็ตฟรี
จากกรณี ครม. มีมติเห็นชอบโครงการ เราชนะ ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ด้วยการลดภาระค่าครองชีพ โดยสนับสนุนเงินช่วยเหลือให้แก่ประชาชน 31.1 ล้านราย วงเงินไม่เกิน 3,500 ต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.2564) โดยมีวงเงินดำเนินการทั้งสิ้น 2.1 แสนล้านบาท
โดยประชาชนที่ได้รับสิทธิ์จะได้รับเป็นวงเงิน สำหรับใช้จ่ายกับร้านค้าและบริการที่เข้าร่วมโครงการ ไม่ได้รับเป็นเงินสด ทั้งนี้ การแจกเงิน 3,500 บาท จะต้องใช้จ่ายผ่านแอพฯ เป๋าตัง อย่างเดียวเท่านั้น เพราะต้องการสนับสนุนสังคมไร้เงินสด ส่วนคนไม่มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เชื่อว่าจะเป็นส่วนน้อย
แต่หากใครไม่มีก็ต้องขอรบกวน เพราะตอนนี้ราคาไม่แพงแล้ว ต่อเรื่องดังกล่าว น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคฝ่ายนโยบาย พรรคก้าวไกล แสดงความคิดเห็นว่า ถ้าจะจ่ายเงินผ่านแอพ อย่าลืมแจกสมาร์ทโฟน และเน็ตฟรี" หลังจากที่รอเงินเยียวยากันมาหลายสัปดาห์ ในที่สุด ครม. ก็เคาะให้มีการจ่ายเงินเยียวยา โครงการ "เราชนะ" เดือนละ 3,500 บาท 2 เดือน รวมทั้งสิ้น 31 ล้านคน วงเงินรวม 210,000 ล้านบาท เริ่มจ่ายต้นเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป
แน่นอนว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่มีมาตรการเยียวยาประชาชนออกมา ถึงมาช้า ก็ยังดีกว่าไม่มี แต่มาตรการที่ออกมาก็ยังมีปัญหา เรื่องแรก เป็นปัญหาเรื่องหลักเกณฑ์ในการได้รับเงินเยียวย า ที่ถึงแม้จะมีการผ่อนปรนคุณสมบัติมากขึ้น แต่ข้อที่น่าเป็นห่วงคือการใช้ฐานรายได้ 300,000 บาทต่อปี หรือคนที่มีเงินเดือน ราว 25,000 บาทต่อเดือนจากฐานภาษีปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนโควิด ทำให้คนที่รายได้ลดลงหลังเกิดโควิดในปี 2563 เช่น พนักงานในธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ไม่เข้าเกณฑ์ได้รับการเยียวยา เข้าใจว่าที่เอารายได้ปี 62 มาใช้ก็เพื่อป้องกันคนรายงานรายได้ปี 63 ต่ำเกินจริง เพราะยังไม่ได้ยื่นภาษี ถ้ากลัวขนาดนี้ ก็ช่วยขยับเกณฑ์รายได้ให้สูงขึ้นเป็นตัดสิทธิ์รายได้เกิน 50,000 บาทต่อเดือนในปี 62 ไปเลยจะดีกว่า
นอกจากนี้ มาตรการเยียวยาที่ไม่ครอบคลุมแรงงาน ม.33 ยังทำให้แรงงานในธุรกิจที่ไม่ได้ถูกสั่งปิดโดยตรง แต่ถูกลดชั่วโมงการทำงานและรายได้ลดลงไม่เข้าข่ายอยู่ในกลุ่มที่ได้รับการเยียวยานี้ด้วย รวมทั้งผู้ทีเป็นสมาชิกประกันสังคมที่ถูกเลิกจ้าง แต่ยังจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 6 เดือน ก็อาจไม่ได้รับสิทธิ์การเยียวย าใดๆ เลยเช่นกัน
กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่โดนทอดทิ้งมาตั้งแต่การเยียวยาห้าพันรอบแรก เรื่องต่อมาที่ดิฉันคิดว่ามีปัญหาคือ วิธีการในการเข้าถึงสิทธิ์ ต้องมีการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ และได้รับเงินผ่านแอปเป๋าตังค์ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้เหตุผลว่าเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด และสร้างประสบการณ์สังคมไร้เงินสด
แน่นอนค่ะว่าเป้าหมายในการไปสู่สังคมไร้เงินสดเป็นเรื่องที่ดี แต่ในสภาวะวิกฤตแบบนี้ ดิฉันคิดว่าปากท้องของพี่น้องประชาชนสำคัญกว่า ยังมีคนอีกจำนวนหนึ่งในสังคมไทย โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยที่ยังเข้าไม่ถึงอินเตอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน ถ้าจะสนับสนุนจริงๆ ก็แจกสมาร์ทโฟนบวกเน็ตฟรีให้ประชาชนด้วย อย่ามาเพิ่มภาระกันตอนนี้เลย การเยียวย ารอบแรกเราเห็นปรากฏการณ์ รับจ้างลงทะเบียน มีการตั้งโต๊ะลงทะเบียนแทนคนที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยี เรียกรับเงินครั้งละ 100-500 บาท รอบนี้ก็คงเกิดขึ้นอีกถ้าไม่มีการเปิดให้ลงทะเบียนแบบออฟไลน์ได้
ถึงแม้รัฐบาลจะบอกว่าจะมีการจัดหาสมาร์ทโฟนราคาถูกมาจำหน่ายให้ประชาชน แต่ดิฉันคิดว่านี่คือการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และเป็นการเพิ่มภาระให้กับเงินในกระเป๋าประชาชนโดยไม่จำเป็น ในยามที่เงินทองหายากแบบนี้ จะดีกว่านี้ไหม ถ้ารัฐบาลให้ความสำคัญกับเป้าหมายเรื่องการทำให้เงินเยียวยาเข้าถึงประชาชนอย่างรวดเร็วด้วยการเพิ่มวิธีการลงทะเบียนรับสิทธิ์และและจ่ายเงินสดโอนเงินเข้าธนาคาร
โดยอาจมีมาตรการจูงใจให้คนมาใช้ด้วยโครงการที่มีอยู่แล้วอย่าง คนละครึ่ง แต่ถ้าใครต้องการรับเงินเยียวยาช่องทางอื่นต้องไม่จำกัดสิทธิ์ประชาชน อย่าลืมนะคะว่าไม่ใช่ทุกร้านค้าที่รับเงินผ่านแอพ และรายจ่ายจำเป็นในชีวิตหลายรายการยังจำเป็นต้องใช้เงินสด ไม่สามารถจ่ายผ่านแอปได้ เช่น
ค่าเช่าบ้าน หรือจ่ายคืนหนี้ รัฐบาลนี้ มีประสบการณ์การจ่ายเงินเยียวย าที่ยุ่งยาก ล่าช้า และตกหล่นจากโครงการ เราไม่ทิ้งกัน แล้ว ดิฉันหวังว่ารัฐบาลจะเรียนรู้บทเรียนและนำมาแก้ไขเพื่อให้การจ่ายเงินเยียวยาในครั้งนี้ User friendly เป็นมิตรกับการใช้งานของพี่น้องประชาชนที่กำลังเดือดร้อนมากที่สุด ที่สำคัญอย่าทิ้งใครไว้ข้างหลังอย่างแรงงานประกันสังคม หรือคนตัวเล็กตัวน้อยที่เคยจ่ายภาษี แต่ไม่มีกำลังจ่ายเหมือนเดิมแล้วเพราะโควิดค่ะ ส่วนข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ยังไม่เดือดร้อนอะไร ไม่ได้ถูกตัดเงินเดือนหรือเลิกจ้าง คงยังไม่ต้องเยียวยา หรือช่วยเหลือค่าครองชีพในตอนนี้ค่ะ
ขอบคุณ ข่าวสด