เคาะแล้ว ช่วยทุกกลุ่ม 3500 นาน 2 เดือน
นายกรัฐมนตรี สรุปมาตรการเยียวย าผลกระทบจากแพร่กระจาย CV19 ระลอกใหม่ โดยให้ลดค่าน้ำค่าไฟ เป็นเวลา 2 เดือน พร้อมสั่งกระทรวงการคลัง ศึกษาแผนการจ่ายเงินเยียวยาทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากCV19 เป็นเงิน 3,500 บาท นาน 2 เดือน โดยให้กลับมาเสนอคณะรัฐมนตรีสัปดาห์หน้า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับมาตรการเยียวย าผู้ได้รับผลกระทบจากCV19 ประกอบด้วย การลดค่าไฟฟ้า 2 เดือนตามใบแจ้งหนี้ เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2564
โดยให้ใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วยแรก สำหรับบ้านพักอาศัยที่ใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ให้ส่วนลดค่าไฟตามเงื่อนไข สำหรับบ้านพักอาศัยที่ใช้ไฟเกิน 150 หน่วยต่อเดือน ซึ่งมาตรการนี้จะไม่รวมส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ขณะเดียวกันยังลดค่าน้ำ ร้อยละ 10 เป็นเวลา 2 เดือนตามใบแจ้งหนี้ เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม เฉพาะบ้านที่อยู่อาศัย และกิจการขนาดเล็ก ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
พร้อมมอบหมายให้กระทรวงการคลัง จัดทำแผนเยียวย ารายได้ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกกลุ่ม และครอบคลุมทุกคน ทั้งแรงงานนอกระบบ กลุ่มอาชีพอิสระ เกษตรกร เบื้องต้นจะเยียวย า 3,500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นเวลา 2 เดือน โดยให้กลับมาเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งในสัปดาห์หน้า
ขณะที่ โครงการคนละครึ่ง จะเปิดให้ลงทะเบียนรอบเก็บตกอีก 1 ล้านสิทธิ ช่วงปลายเดือนมกราคมนี้ นายกรัฐมนตรียังได้มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หารือกับผู้ประกอบการ และ กสทช. เพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตบ้านและโทรศัพท์มือถือ เป็นการสนับสนุนการทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home และสนับสนุนการโหลดแอปพลิเคชันหมอชนะฟรี โดยไม่คิดค่า Data 3 เดือน
ส่วนการช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป มอบหมายให้กระทรวงการคลัง ประสานธนาคารแห่งประเทศไทย ช่วยเหลือเรื่องหนี้สิน เสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ เช่น ให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ด้าน นายอาคม เติมพิทย าไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จะเร่งเปิดลงทะเบียนโครงการเราชนะ เพื่อให้ผู้ลงทะเบียนได้รับเงิน 3,500 บาท เป็นเวลา 2 เดือน ส่วนรายละเอียดต่าง ๆ จะกลับมาเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง วันที่ 19 มกราคมนี้ โดยคาดว่า วันที่ 20 มกราคม จะเริ่มลงทะเบียน
และได้รับเงินปลายเดือนมกราคม หรืออย่างช้า ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ร่วมแถลงพร้อมผู้บริหารสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากCV19นายอาคม ระบุว่า ปัจจุบันมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเสริมสภาพคล่อง ยังมีวงเงินเหลืออยู่กว่า 268,000 ล้านบาท โดยธนาคารของรัฐแต่ละแห่งจะมีมาตรการเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการ และประชาชน มาตรการสินเชื่อฉุกเฉิน การพักชำระหนี้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย รวมถึงการปรับโครงสร้างหนี้
ขอบคุณ ช่อง 7