อนุทิน ชง เลิกรักษาฟรี ให้คนทำผิด ต้องให้จ่ายค่ารักษาเอง
เมื่อวันที่ 9 มกราคม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ก แสดงความเห็นเรื่อง เรื่องต้องคิด ต้องแก้ คนทำผิดได้สิทธิ สุจริตชนเสียโอกาส รัฐเสียเงิน ระบุว่า เช้าถึงเที่ยงวันนี้ ผมเข้าประชุมกับคณะแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข ด้วยความไม่สบายใจ
คณะแพทย์พูดถึงเรื่องการลักลอบเล่นการ พ นัน ที่ยังมีอยู่ ซึ่งตำรวจจับได้ตามข่าว และการเข้ามาของคนไทยที่มีอาการติด CV19 ที่ชายแดนแม่สอด จังหวัดตาก ถูกนำตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพย าบาล ยังมีอีก 200-300 คนที่ลักลอบข้ามแดนออกไปทำงานในบ่อน รอกลับเข้ามา เพราะบ่อ นปิด และมีอาการไม่สบาย
ผมตั้งคำถามกับที่ประชุมว่า กับผู้กระทำผิดกฎหมาย แล้วติด โรงพย าบาลต้องเสียเงิน เสียทรัพยากร เสียกำลังคน ไปดูแลคนเหล่านี้ และต้องจำกัดเวลาให้บริการประชาชนทั่วไป ต้องเลื่อนนัดทั้งตรวจรักษาเงินงบประมาณที่ควรจะเอาไปดูแลรักษาประชาชนทั่วไป ต้องเอามาใช้ดูแลคนทำผิดกฎหมายเหล่านี้อีกนาน และมากแค่ไหนยังไม่รู้ ประชาชน คนทำมาหากินสุจริต ร้านค้า ร้านอาหาร ผู้ประกอบการธุรกิจ จะต้องเสียเงิน เสียรายได้ เสียโอกาสการทำงาน และการมีงานทำ ไปอีกนานเท่าไร
อันที่จริง กฎหมายมาตรา 41 และ 42 กำหนดไว้ชัดว่า คนที่เป็นเจ้าของพาหนะหรือนำผู้ป่ว ย ผู้ต้องสงสัยว่าจะติด รวมทั้งผู้เดินทางเข้ามาต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกักตัว เฝ้าระวังอาการ ดูแล รักษาพย าบาล รวมถึงการป้องกัน ควบคุมการติดต่อระหว่างประเทศ และการส่งเสริมภูมิคุ้มกัน คนที่พาเข้ามา และตัวเอง โดยที่รัฐไม่ต้องจ่ายให้
แต่ก็ถูกแย้งว่าไม่สามารถทำได้ เพราะขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 47 กำหนดไว้ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันอันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายคำถามคือ รัฐควรจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้กระทำผิดกฎหมาย เหล่านี้ หรือหากต้องจ่าย ก็น่าจะต้องเรียกเก็บจากผู้ที่นำCV19เข้ามา ทั้งผู้ป่ วย และผู้จัดหา นำเข้ามา จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้ ผมจะนำเรื่องนี้ไปประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางฏิบัติ ป้องกันไม่ให้มีการกระทำผิดกฎหมาย โดยไม่มีความรับผิดชอบ เพราะคิดว่า เมื่อป่ว ย รัฐมีหน้าที่ต้องรักษาให้ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกต่อไป คนทำผิดต้องไม่ได้รับสิทธิเท่าสุจริตชน
ขอบคุณ มติชนออนไลน์