ภาคเอกชน เสนอรัฐบาลให้เพิ่มวงเงินให้ คนละครึ่ง

ภาคเอกชน เสนอรัฐบาลให้เพิ่มวงเงินให้ คนละครึ่ง

เรียกได้ว่าหลายๆฝ่ายยังคงแสดงความเป็นห่วงกับสถานการณ์ แพร่กระจาย CV19 ล่าสุด ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เสนอให้รัฐบาลเร่งพิจารณามาตรการช่วยเหลือ เพิ่มวงเงินคนละครึ่งเป็น 5,000 บาท และขยายโครงการเฟส 3 รวมถึงอาจจะต้องกู้เงินเพิ่มอีก 1-2 ล้านล้านบาท

การแพร่รอบใหม่ ทำให้รัฐบาลต้องใช้มาตรการเข้มงวดเพื่อจำกัดวงและลดการแพร่ให้ได้โดยเร็ว ทั้งปิดสถานที่ต่างๆ รวมทั้งคุมเข้มการเดินทาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่กระจาย รอบใหม่

สิ่งที่น่ากังวลคืออาจมีคนตกงานเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก จากธุรกิจที่ต้องปิดกิจการตามคำสั่งรัฐ หรือได้รับผลกระทบในด้านต่างๆ อาทิ ร้านอาหาร ธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ คล้ายช่วงระบาดเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ขณะที่ภาคท่องเที่ยวยังอยู่ในภาวะยากลำบาก ส่อตกงานจำนวนมากอีกครั้ง

โดยเสนอว่า รัฐบาลควรเร่งพิจารณามาตรการช่วยเหลือเพื่อประคองสถานการณ์ อาทิ อาจเพิ่มวงเงินให้กับโครงการคนละครึ่งเฟส 2 หรือออกโครงการคนละครึ่งเฟส 3 ขึ้นมาใหม่ โดยขยายวงเงินจาก 3,500 บาท เป็น 5,000 บาทในช่วง 3 เดือน หรือเพิ่มระยะเวลาโครงการที่กำหนดสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2564 เพื่อให้เศรษฐกิจยังขับเคลื่อนไปได้ ในสถานการณ์ที่ไทยต้องเผชิญกับการแพร่กระจาย CV 19 รอบใหม่ ที่อาจแรงขึ้น ส่วนตัวยังคงเสนอให้รัฐบาลกู้เงินเพิ่ม 1-2 ล้านล้านบาท

จากปัจจุบันรัฐบาลกู้แล้ว 1 ล้านล้านบาท เพื่อความอุ่นใจ เพราะสถานการณ์ไม่แน่นอน อาจลุกลาม เอกชนห่วงเรื่องนี้มาตลอด การมีเงินอยู่ในมือที่มากพอเพื่อใช้แก้ปัญหาย่อมดีกว่าเงินไม่พอ ขณะที่ดอกเบี้ยในเวลานี้ค่อนข้างถูก หากกู้มาแล้วไม่ใช้ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้เป็นภาระมากนัก ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ในวันที่ 6 มกราคมนี้ จะมีการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจอีกครั้ง

ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโสสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI กล่าวถึง มาตรการในการระงับการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ของรัฐบาลรอบนี้ ที่งดใช้มาตรการล็อกดาวน์ทุกจังหวัดทั่วประเทศ แต่ให้ท้องที่ออกคำสั่งทางปกครองในการดูแลพื้นที่ของตนเอง แต่หลายคนมองว่า มาตรการที่ออกออกมาก็คล้ายคลึงกับการล็อกดาวน์ โดย ดร.นณริฏ ระบุว่า มาตรการในการระงับการระบาดรอบนี้ คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในแง่มูลค่าภาพรวมเท่ากับรอบที่แล้ว

เนื่องจากมีการแบ่งระดับการเฝ้าระวัง และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในจังหวัดที่มีการกระจายน้อยลง ก็ยังคงทำกิจกรรมได้อยู่ แต่กลุ่มที่น่ากังวลสำหรับ การระบาดรอบใหม่นี้ คือ กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ในช่วงโควิดรอบแรก อาจจะนำเงินทุน เงินออม ที่มีอุ้มธุรกิจไว้ แต่เชื่อว่าในช่วงตั้งแต่ต้นปี2565 เป็นต้นไป อาจจะเห็นผู้ประกอบการขาดทุนจนปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานเพิ่มอีก

นักวิชาการรายนี้ เสนอต่อว่า รัฐบาลต้องนำงบประมาณจากก้อน พรก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ที่ยังคงเหลืออัดฉีดเป็นเงินให้เปล่าอุดหนุนไปยัง พื้นที่จังหวัด หรือพื้นที่รัฐบาลสั่งให้ปิดกิจการ โดยเน้นย้ำว่า จะต้องจ่ายตรง เป็นเฉพาะกลุ่มธุรกิจหรือกลุ่มจังหวัดที่ได้รับผลกระทบสูงสุดก่อน หากจำเป็นต้องให้ความรู้การจำหน่ายสินค้าเป็นรูปแบบเดลิเวอรี่ยังร้านอาหาร รัฐก็ต้องปฏิบัติอย่างทันถ่วงที เพื่อลดผลกระทบของร้านค้า ด้านสมาคมผู้ค้าปลีกไทยและสมาคมศูนย์การค้าไทย มีข้อสรุปให้ทุกศูนย์การค้ารวมถึงร้านค้าในศูนย์การค้าและร้านค้าภาคีเครือข่าย ยกระดับมาตรการการคัดกรองและเข้มงวดความปลอดภัยสุขอนามัย พร้อมกำหนดปิดทำการเวลา 21.00 น. นับตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2564 เป็นต้นไป

ขอบคุณ pptvhd36

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ