เช็คสิทธิ์ประกันสังคม เพิ่มสิทธิ์ประโยชน์ทดแทน รับเงิน 8000
เมื่อเร็วๆนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน โดยได้มีการปรับปรุงอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนเกี่ยวกับ เงินสงเคราะห์กรณีถึงแก่ความตาย และเงินค่าทำศพ สำหรับบุคคลซึ่งไม่ใช่ลูกจ้าง แต่สมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533 โดยผู้ประกันตนมาตรา 40 หมายถึง
บุคคลที่มิใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 หรือเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ มาตรา 39 เรียกว่า ผู้ประกันตนโดยอิสระ โดยทางรัฐบาลต้องการขยายประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบโดยผลักดันร่าง พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ฉบับแก้ไข เพื่อรัฐร่วมจ่ายในมาตรา 40 และแก้ไขพระราชกฤษฎีกา เพื่อพัฒนาสิทธิประโยชน์ของมาตรา 40 ให้เป็นที่จูงใจ โดยเป็นระบบสมัครใจและล่าสุดสำนักงานประกันสังคม ได้ออกกฎระเบียบใหม่สำหรับผู้มีอาชีพอิสระนอกระบบ ไล่เรียงตั้งแต่ พ่อค้าแม่ค้า มอเตอร์ไวด์รับจ้าง แม่บ้าน พนักงานฟรีแลนซ์ เกษตรกร และ ผู้มีอาชีพอิสระอื่น ๆ สามารถสมัครประกันสังคมมาตรา 40 เพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่างๆโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
อัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนใหม่ที่ปรับปรุง ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละ 70 บาท หรือเดือนละ 100 บาท ถึงแก่ความตาย อั เพิ่มขึ้นเป็น 25,000 บาท จากตราเดิมจะได้เงินค่าทำศพ 20,000 บาทและเงินสงเคราะห์ เพิ่มเป็น 8,000 บาท อัตราจากเดิม 3,000 บาท โดยมีเงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน ก่อนเสียชีวิต ยกเว้น เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละ 300 บาท ถึงแก่ความตาย อัตราใหม่ 50,000 บาท
จากอัตราเดิมจะได้เงินค่าทำศพ 40,000 บาท โดย กระทรวงแรงงานได้ประมาณการรายรับของกองทุนประกันสังคมจากการจัดเก็บเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ข้อมูล ณ วันที่ 30 เม.ย. 2563 รวมมีผู้ประกันตนทั้งหมด 3,353,939 คน จัดเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนในปี 2562 ได้จำนวน 1,557 ล้านบาท และเงินสมทบจากรัฐบาล 779 ล้านบาท มีการจ่ายประโยชน์ทดแทนให้กับผู้ประกันตนที่ถึงแก่ความตายเป็นเงินค่าทำศพและเงินสงเคราะห์ประจำปี 2562 จำนวน 200 ล้านบาท และเมื่อจ่ายประโยชน์ทดแทนในอัตราใหม่คาดว่าในปี 2563-2564 กองทุนประกันสังคมจะต้องจ่ายเงินค่าทำศพเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 77 ล้านบาท และเงินสงเคราะห์เพิ่มขึ้นปีละ 93 ล้านบาท
สิทธิประโยชน์พื้นฐานสำหรับผู้สมัครประกันสังคมมาตรา 40 กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย เมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 30 วันต่อปี เงื่อนไขจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน (การรักษาพยาบาลใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 ถึง 1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลานานถึง 15 ปี
เงื่อนไข เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือนขึ้นไป (ต้องเป็นผู้ทุพพลภาพหรือทุพพลภาพเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการ แพทย์) กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ) ผู้ประกันตนสามารถรับเงินก้อนเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เงื่อนไข มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ) – ผู้ประกันตนสามารถรับเงินบำนาญเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน – ต้องจ่ายเงินสมทบถึงบำนาญขั้นต่ำหรือไม่น้อยกว่า 420 เดือน (35 ปี) ได้รับเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำเดือนละ 600 บาท ตลอดชีวิต
วิธีสมัครประกันสังคม มาตรา 40 คุณสมบัติผู้ที่สนใจสมัคร
ผู้สมัครต้องมี อายุ 15-60 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 ไม่เป็นข้าราชการหรือบุคคลที่ถูกยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม
บุคคลพิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคม
เฉพาะปีแรก (มีผลบังคับใช้วันที่ 9 ธันวาคม 2556 – วันที่ 8 ธันวาคม 2557) เปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่มีอายุ 60-65 ปี สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้ทุกทางเลือก
สำหรับผู้สมัครที่มีอายุเกินกว่า 65 ปี เฉพาะปีแรก (มีผลบังคับใช้วันที่ 9 ธันวาคม 2556 – วันที่ 8 ธันวาคม 2557) สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้เฉพาะทางเลือก 3 เท่านั้น และไม่มีสิทธิเปลี่ยนทางเลือก
หลักฐานการสมัคร เอกสารประกอบการสมัคร สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้ (ใบอนุญาตขับขี่รถ) แบบการขึ้นทะเบียนการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 (สปส.1-40) สถานที่ในการขึ้นทะเบียน สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-12 แห่ง/จังหวัด/สาขา (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวรณกระทรวงสาธารณสุข) หน่วยบริการเคลื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม
ขอบคุณ ข้อมูลข่าวสารดีๆจาก moneyguru.co.th