ตะไคร้หอม

ตะไคร้หอม

เรียกได้ว่าหลายคนได้ยินคงตกใจเพราะไม่คิดว่าผักสวนครัวที่อยู่คู่คนไทยมาช้านานจะเป็นวัตถุอันตรายได้แบบไม่น่าเชื่อ หนึ่งคำถามที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ สำหรับการที่ ตะไคร้หอม กำลังจะถูกบัญญัติเป็นวัตถุอันตราย โดยทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลัง รวมไปถึงอีก 12 สมุนไพร อาทิ สะเดา ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก ขึ้นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนอนตายหยาก ซึ่งล้วนเป็นพืชผักพื้นบ้าน ที่ถูกนำไปประกอบเป็นเมนูอาหารมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้สมุนไพรเหล่านี้ยังมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคอีกด้วย

เมื่อปี 2552 ภายใต้การนำของ นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เคยประกาศให้ตะไคร้หอม สะเดา ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก ขึ้นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนอนตายหยาก ที่นำสมุนไพรเหล่านี้ไปใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช หรือเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของพืช จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ต่อมาภายใต้การนำของ นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี 2556 ได้ประกาศให้สารสกัดจากสมุนไพรเหล่านี้ เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 อีกครั้ง

ล่าสุด ปี 2563 น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้กรมวิชาการเกษตร จัดทำข้อมูลยกร่างเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตราย เพื่อปลดล็อกบัญชีพืชสมุนไพรทั้งหมดนี้ที่ถูกจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 มาเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 โดยชนิดที่ 1 มีความอันตรายหรือความเป็นพิษน้อยกว่าชนิดที่ 2 เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรหันมาใช้ธรรมชาติกำจัดศัตรูพืชแทนที่การใช้สารเคมี

เหตุผลที่สมุนไพรทั้ง 13 ชนิด ถูกจัดเป็นวัตถุอันตราย สืบเนื่องมาจากการที่เกษตรกรนำความรู้พื้นบ้านแปลงสมุนไพรมาใช้เป็นยากำจัดศัตรูพืช โดยสารสกัดจากสมุนไพรเหล่านี้ อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และมีความเสี่ยงเป็นพิษสูง จึงต้องควบคุม ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้ครอบครอง ด้วยกฎหมาย

ซึ่งจำเป็นต้องขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร ด้วยวิถีชีวิตของเกษตรกรไทย ที่นำ 13 สมุนไพร มาใช้กำจัดแมลงศัตรูพืชตั้งแต่เนิ่นนาน ซึ่งไม่มีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อย่างผง หรือสารธรรมชาติจากการหมักบ่ม ตากแห้ง บดเป็นผง ทำให้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลดออกจากบัญชีวัตถุอันตราย และไม่ต้องขึ้นทะเบียน เว้นเสียแต่ว่าเป็นสารสกัด หรือเป็นน้ำ

กรมวิชาการเกษตร ระบุ การขึ้นทะเบียนที่ผ่านมานั้น พบว่าสารสกัดธรรมชาติจะแยกออกเป็น 2 ส่วนหลัก จากการสกัดจริง และไม่ผ่านการสกัด ซึ่งไม่สามารถปลดล็อกสารธรรมชาติจากการสกัด ออกเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้ อันเนื่องมาจากการสกัดจะได้สารออกฤทธิ์ในการกำจัดศัตรูพืช 100เปอร์เซ็น

ซึ่งมีความเป็นพิษสูง ทว่าหากไม่ผ่านการสกัด เช่น นำไปตากแห้ง บ่ม และสับ ไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียน ซึ่งจะสะดวกกับทางเกษตรกรมากกว่า

อ้างอิง springnews

ขอบคุณ springnews

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ