ผู้ว่า เชียงใหม่ส่งหนังสือด่วนที่สุด เรื่องการรับบริจาค ของ ฌอน

ผู้ว่า เชียงใหม่ส่งหนังสือด่วนที่สุด เรื่องการรับบริจาค ของ ฌอน

จากกรณีของ ฌอน บูรณะหิรัญ กลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตเลยทีเดียว เพราะโดนขุดหลายเรื่อง ล่าสุดเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. นายศรีสุวรรณ เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ตามที่นาย ฌอน บูรณะหิรัญ ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เปิดรับบริจาคเพื่อนำมาช่วยดับไฟป่าดอยสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 30 มี.ค.2563 จนถึง 1 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยมีผู้ร่วมบริจาคเป็นจำนวนเงิน 875,741.53 บาท แต่กลับนำเงินบริจาคส่วนหนึ่ง มูลค่า 254,516.53 บาท มาใช้ทำสื่อ

เพื่อประชาสัมพันธ์ ว่า เบื้องต้นการรับบริจาคดังกล่าวแม้มีวัตถุประสงค์เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่จะต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรเสียก่อน ตามความใน ม.6 ประกอบ ม.8 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ.2487

ซึ่งตามกฎกระทรวงแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กำหนดให้ นายอำเภอ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ม.8 สำหรับในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด ซึ่งต้องตรวจสอบต่อไปว่า ผู้ขออนุญาตเคยต้องโทษเกี่ยวกับทรัพย์ กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอกทรัพย์ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายลักษณะอาญาหรือไม่ หากใครฝ่าฝืนย่อมมีความผิดตาม ม.17 ประกอบ ม.19 ได้หรือหากผู้จัดกิจกรรมปิดบังอำพรางข้อเท็จจริงก็อาจเข้าข่ายความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ปอ. ม.172 ด้วย

สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังอธิบดีกรมการปกครอง เพื่อขอให้ตรวจสอบว่ากรณีการขอรับบริจาคของ นายฌอน บูรณะหิรัญ นั้นได้ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ 1. กิจกรรมการเรี่ยไรดังกล่าวมีการดำเนินการขออนุญาตจากนายอำเภอเมือง จ.เชียงใหม่ ตามกฎกระทรวง แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมการเรี่ยไร 2487 แล้วหรือไม่ อย่างไร

2. กิจกรรมการเรี่ยไรดังกล่าวมีการออกใบรับเงินให้กับผู้บริจาคทุกคน และมีต้นขั้วใบรับไว้เป็นหลักฐานตามที่กำหนดไว้ใน ม.13 หรือไม่

3. เงินบริจาคที่ได้มาดังกล่าว มีการนำไปใช้จ่ายในการจัดทำสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ตนเอง เป็นการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ตาม ม.14 หรือไม่ อย่างไร และหากนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ อาจเข้าข่ายความผิดฐานฉ้อโกง ตามกฎหมายอาญา ม.341 ได้ ที่ระบุว่า

ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอกลวงให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ กิจกรรมการขอรับบริจาคของนายฌอน ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นลงไปแล้ว หากเป็นการดำเนินการที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ.2487

และประมวลกฎหมายอาญา ก็ย่อมที่จะฝ่าฝืน พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 ตามไปด้วย ย่อมถือได้ว่า เป็นความผิดที่สำเร็จแล้ว กรมการปกครองต้องดำเนินการทางกฎหมายเพื่อแจ้งความดำเนินคดีตามครรลองของกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ กฎหมายต้องเป็นกฎหมาย ไม่อาจมีข้อยกเว้นให้บุคคลใดได้

ล่าสุดเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน เพจ หมายจับกับบรรจง ได้โพสต์ข้ภาพเอกสารด่วนที่สุดโดยในเอกสารระบุใจความสำคัญว่า

นาย ฌอน บูรณะหิรัญ มิได้มายื่นขออนุญาต ทำการเรี่ยไร

อย่างไรก็ดีโปรดติดตามตอนต่อไป หากมีความคืบหน้าอย่างไรทีมงานจะรีบนำมาอัพเดททันที

ขอบคุณ หมายจับกับบรรจง

เรียบเรียง มุมข่าว

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ