ปรับระบบ รพ จิตเวชวิถีใหม่ รองรับยอดพุ่งทั้งเครียด ซึมเศร้า

ปรับระบบ รพ จิตเวชวิถีใหม่ รองรับยอดพุ่งทั้งเครียด ซึมเศร้า

ปีนี้เรียกได้ว่าเป็นปีที่สาหัสมากเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเจอวิกฤต CO vid แล้ว ยังต้องเจอกับการเลิกจ้าง ตกงานกระทันหัน ทำให้ประชาชนเกิดความเครียดกันมากขึ้น วันนี้เราจะมาติดตามกรณีที่มีการปรับระบบ รพ.จิตเวชวิถีใหม่ รองรับผู้ป่วยยอดพุ่ง โดยวันที่ 8 มิ.ย. 63 นพ.จุมภฏ พรมสีดา รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า

ผลกระทบจากโรคโควิด 19 นั้น แบ่งออกเป็น คลื่นลูกที่ 1 ช่วงที่มีการระบาด มีผู้ป่วຍและผู้เสียชีวิตสูง ทำให้ รพ.ทุกแห่ง รวมถึง รพ.จิตเวช เตรียมรองรับผู้ป่วยติดเชื้อมากขึ้น มีการกันหอผู้ป่วยรองรับ ส่วนคลื่นลูกที่ 2 คือ ผู้ป่วຍเร่งด่วน แต่ไม่ได้ติดโควิด ทำให้ถูกเลื่อนนัดออกไป และกลับเข้าสู่การรักษาอีกครั้ง ทำให้ผู้ป่วยมากขึ้น คลื่นลูกที่ 3 คือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เลื่อนนัดนานขึ้น รวมถึงผู้ป่วยจิตเวชด้วย เมื่อการระบาดลดลงเคสเหล่านี้จะกลับมา รพ.

และคลื่นลูกที่ 4 ที่กังวลมาก คือ ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจจากโควิด ประชาชนบางส่วนอาจเครียด ซึมเศร้า หรือรู้สึกอยากทำร้ายตัวเอง บุคลากรทางการแพทย์ที่อาจจะเกิดภาวะหมดไฟ ตอนนี้ไทยอยู่ในช่วงคลื่นที่ 3 และ 4 หากไม่มีการระบาดรอบใหม่ ก็คาดว่า ผู้ป่วຍจิตเวชจะมากขึ้น ตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย. ซึ่งเกิดการระบาดคลื่นลูกที่ 1 ทำให้ รพ.จิตเวชเลื่อนนัดผู้ป่วยออกไป ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยลดลง 30 เปอร์เซ็น ผู้ป่วยในลดลง 47.65เปอร์เซ็น เพื่อรอรับเคส แต่ตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไป

คาดว่าจะมีคนมารับบริการจิตเวชรายใหม่เพิ่มขึ้น จากความเครียด จำนวนผู้ป่วຍมาใช้บริการมากขึ้น กระทบต่อคุณภาพการบริการ และจำนวนผู้ป่วยนอนรักษาใน รพ.มากขึ้น จากการรักษาไม่ต่อเนื่องและขาดยา ดังนั้นเพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วຍที่มากขึ้น จึงมีการปรับเปลี่ยนการให้บริการจิตเวชแบบ New Normal ให้ปลอดภัຍทั้งคนให้ และรับบริการต่อไป ด้านนพ.บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์ ผอ.กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กล่าวว่า การดูแลสุขภาพจิต เกิดจากการดูแลสุขภาพจิตตัวเองก่อน ซึ่งกรมฯ มีเว็บไซต์ให้สามารถทำแบบประเมินคัดกรองความเครียด ซึมเศร้า สุขภาพจิตตัวเองได้ และมีช่องทางในการให้คำปรึกษา ทั้งสายด่วน 1323 รวมถึงมีแชตบอต 1323 ตอบปัญหาทั่วไปและปัญหาสุขภาพจิต

หากประเมินตนเองจัดการตนเองไม่ดีขึ้น หากจะมา รพ.จิตเวชในวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ อยากมาพบหมอหรือนักจิตวิทยา คือ

1. ระบบจองคิว นัดหมายออนไลน์ เพื่อเลือกเวลา จะได้ไม่ต้องเข้ามาเจอกันจำนวนมาก

2. คลินิกสังเกตอาการทางเดินหายใจ เพื่อช่วยคัดแยก

3. การนัดเหลื่อมเวลา เว้นระยะห่าง

4. บริการส่งยาทางไปรษณีย์หรือร้านขๅยยา

5. รับยาผ่านระบบไดรฟ์ทรู ซึ่งอนาคตจะเป็นการลดการมาสัมผัส รพ.มากขึ้น

เราจะมีระบบให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ให้จิตบำบัดรายบุคคลมากกว่ารายกลุ่ม เพื่อรักษาความปลอดภัย หากมีก็ต้องเว้นะระยะห่างมากขึ้น ลดเวลาการมาสัมผัส รพ. นอกจากนี้ จะมีการจัดกลุ่มบริการ 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มสีแดง คือ คนไข้ใหม่ ค่อนข้างรุนแรง จะประเมินว่าขอรับยาได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้จะพยายามให้มา รพ. โดยลดเวลาอยู่ รพ.ให้น้อยที่สุด บำบัดสั้นที่สุดในการอยู่ รพ. 2. กลุ่มสีเหลือง คนไข้เก่า อาการดี ต้องพบแพทย์บ้างเพื่อติดตามอาการ แต่ปัญหาไม่เยอะ จะใช้เทคโนโลยี โดยเจ้าหน้าที่โทร.ไปซักถาม

และทำวิดีโอคอลออนไลน์ ให้ความรู้ญาติ เชื่อมกับแหล่งช่วยเหลืออื่น 3. กลุ่มสีเขียว ที่อาการคงที่ ให้เลือกรับยาได้ มีการรายงานตัวเองผ่านแอปพลิเคชันและวิดีโอคอล” นพ.บุรินทร์กล่าว นพ.บุรินทร์ กล่าวต่อว่า ส่วนผู้ป่วຍในจะคล้ายกัน คือ รับไว้รักษา แต่การบำบัดจะเว้นระยะห่าง มีมาตรการความปลอดภัຍ ล้างมือ ลดแออัด ใส่ชุดป้องกันตนเองกรณีทำหัตถการ

เช่น การรักษาด้วยไฟฟ้า สำหรับเจ้าหนาที่ ลดการสัมผัสกันโดยเลื่อนบำบัดรักษาเป็นกลุ่ม จิตวิทยาเชิงกลุ่ม ก็จะลดน้อยลง หรือมีระยะห่างมากข้น ใช้การสอนออนไลน์ให้ดูแลตัวเองได้เมื่อกลับบ้าน ขณะที่ระบบการติดตามเนื่องจากภาวะเรื้อรัง เราใช้โปรแกรมโทร.ถามตามเยี่ยม ให้ผู้ป่วรยายงานตัวเองผ่านแอปฯ หรือวิดีโอคอล เยี่ยมบ้านผ่านวิดีโอคอล เป็นต้น 

ขอย้ำว่าสุขภาพกายคือชีวิต สุขภาพจิตคือชีวา ประเทศไทยจะไปต่อได้หากคนไทยใจไม่ป่วຍ สำหรับการดูแลสภาพจิตใจตัวเองในระยะผ่อนปรนเหล่านี้ ขอให้มองมุมดี ๆ มองบวกว่า วันนี้ดีกว่าเมื่อก่อนมาก เพราะวันนี้ผ่อนปรนไปมากแล้ว หากวันนี้เรายังช่วยกันปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด อนาคตก็จะได้รับการผ่อนคลายมากขึ้น การจะผ่อนคลายไม่ได้อยู่ที่รัฐบาล แต่อยู่ที่ประชาชน

ขอบคุณ  ochingroup

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ