7 ตัวแทนธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขอรัฐผ่อนปรน ให้ซื้อกลับบ้าน ส่งเดลิเวอรี่ได้

7 ตัวแทนธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขอรัฐผ่อนปรน ให้ซื้อกลับบ้าน ส่งเดลิเวอรี่ได้

เมื่อเวลา 10จุด00 น วันนี้ 27 เมย 63 ตัวแทนจากภาคธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 7 องค์กร ได้แก่ สมาคมผู้ประกอบการไวน์ไทย สมาคมผู้ผลิตไวน์ผลไม้และสุราพื้นบ้านไทย สมาคมบาร์เทนเดอร์ประเทศไทย ชมรมผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายคราฟท์เบียร์ ชมรมผู้ประกอบการร้านคราฟท์เบียร์ ชมรมเบียร์บรูเออร์แห่งประเทศไทย และชมรมผู้ค้าและตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์และวัตถุดิบทำเบียร์

ได้เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึก ถึง พล อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โควิด 19 หรือ ศบค เพื่อให้ ศบค และภาครัฐรับทราบความเดือดร้อน ในมุมผู้ประกอบการรายย่อย ที่ประกอบธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเจ้าของธุรกิจร้านอาหานกึ่งผับ บาร์

โดยขอให้มีมาตรการผ่อนปรนอนุญาตให้จำหน่ายแบบกลับบ้าน เฉกเช่นอาหารทั่วไป โดยมีนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับเรื่อง ณ ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี

1 การขอมิให้มีการขยายเวลาห้ามจำหน่ายสุราออกไปหลังวันที่ 30 เม.ย.63 อีก และขอให้ร้านที่มีใบอนุญาตจำหน่ายสุราสามารถจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อซื้อกลับบ้าน หรือส่งให้ถึงบ้านได้เหมือนอาหารประเภทอื่น

2 ขอให้พิจารณาเรื่องการออกระเบียบปฏิบัติในการขอคืนภาษีและทำลายสินค้าสุราที่เสื่อมสภาพ เนื่องจากการสั่งห้ามเปิดร้านและสถานบันเทิง ส่งผลแก่ผู้นำเข้าและผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยตรง ที่ไม่สามารถจำหน่ายสินค้าออกจากสต็อกได้ตามเวลาที่ควรจะเป็น ทำให้สินค้าที่นำเข้าหรือสั่งผลิตมาจำนวนมากบางประเภทกำลังจะหมดอายุ

3 ขอให้พิจารณาผ่อนปรน เรื่องการขนย้ายสุราหากมีการห้ามจำหน่าย เนื่องจากคราฟท์เบียร์ ไวน์องุ่นและสุราแช่หลายชนิดเป็นสินค้าที่ต้องจัดเก็บตามอุณหภูมิที่กำหนด เมื่อมีการนำเข้ามาจึงต้องมีการชำระภาษีและขนย้ายเข้าไปเก็บคลังสินค้าของผู้ประกอบการให้เร็วที่สุด การประกาศห้ามขายส่ง ใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 1 ทำให้ไม่สามารถนำสินค้าที่เสียภาษีแล้วไปเก็บในคลังของผู้ประกอบการได้ และเกิดภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการเช่าโกดัง รวมถึงปัญหาการควบคุมอุณหภูมิในเขตปลอดภาษี

โดยทั้งนี้ หากมีการประกาศใดๆจากภาครัฐ ขอให้มีการแจ้งล่วงหน้าเพื่อการเตรียมการหรือมีความชัดเจนในเรื่องการขนส่งให้เสร็จสิ้นทันการ เช่น ให้มีผลบังคับใช้หลังประกาศ 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน เพื่อให้สินค้าที่เปิดบิลในวันที่ประกาศ ได้ดำเนินการจัดส่งเสร็จสิ้นภายใน 3 วัน เป็นต้น

การขอผ่อนปรนและเรียกร้องมาตรการเยียวยาจากภาคธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในครั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งเสียงของผู้ที่ได้รับผลกระทบทางตรงที่ต้องการให้ภาครัฐมองอย่างใจเป็นกลางในมิติของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการจ้างงาน เพราะการที่ภาครัฐประกาศห้ามจำหน่ายสุราด้วยหวังจะป้องปรามการกระทำผิดเฉพาะบุคคล

กำลังกลายเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของผู้บริโภคทั้งประเทศที่เขาเองก็ประพฤติตนตามมาตรการอย่างเคร่งครัด และหากยังขยายระยะเวลาห้ามจำหน่ายสุราออกไป โดยไม่มีการชดเชยหรือมาตรการเยียวยาใด ๆ เพิ่มเติมแล้ว ก็คาดว่าในไม่ช้าจะกระทบต่อการเลิกจ้างพนักงาน การทยอยปิดกิจการจากระดับร้านค้าไปถึงผู้นำเข้าและผู้ผลิตฯ ขยายวงกว้างความเสียหายทางเศรษฐกิจจนยากจะกลับมาฟื้นฟูได้อีกครั้ง

นายอาชิระวัสส์ วรรณศรีสวัสดิ์ ตัวแทนจากชมรมผู้นำเข้าและจำหน่ายคราฟท์เบียร์ กล่าวถึงการขอให้รัฐพิจารณาผ่อนปรนมาตรการห้ามจำหน่ายสุรา เพื่อต่อลมหายใจให้กับผู้ประกอบการรายย่อยที่ประกอบธุรกิจร้านอาหารแนวผับ บาร์ สถานบันเทิง และภาคธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ว่า จากคู่มือเตรียมความพร้อมการเปิดธุรกิจของราชการที่ออกมา ทางเราอยากขอให้พิจารณา ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยอาศัยเกณฑ์ดังกล่าวด้วย อาจจะมีผู้ประกอบการบางประเภทที่อยู่ในกลุ่มสีแดงก็ยินยอมหยุดดำเนินการ

แต่บางผู้ประกอบการที่อยู่ในกลุ่มสีเหลืองหรือกลุ่มสีเขียว อยากให้ทางราชการประเมินผู้ประกอบการกลุ่มนี้ตามหลักการในแบบเดียวกันกับธุรกิจอื่น โดยอาศัยอำนาจของผู้ว่าราชการในแต่ละจังหวัดเป็นผู้ประเมินเพื่อบรรเทาความเสียหายของธุรกิจ และยินดีที่จะปฏิบัติตามคู่มือรักษาความปลอดภัยป้องกันการแพร่เชื้อ

นอกจากนี้ ได้เปิดเผยตัวเลขการจัดเก็บภาษีเบียร์และสุรา ในปี 2562 ที่สรรพสามิตจัดเก็บภาษีเบียร์ได้ถึง 70090 ล้านบาท ขณะที่สุราจัดเก็บได้ถึง 62146 ล้านบาท รวมเป็นรายได้จากภาษีเบียร์และสุราทั้งสิ้น 132236 ล้านบาท นำไปสู่การผันงบเพื่อพัฒนาประเทศ อาทิ นำส่ง กทม.และหน่วยงานเทศบาล จำนวน 10เปอร์เซ็น หรือ 14100 ล้านบาท เพื่อเอาไปเป็นงบประมาณ นำส่ง สสส สมาคมกีฬา และ คนชรา จำนวนที่ละ 2 เปอร์เซ็น หรือ 2800 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ทำโครงการฯ

ในหน่วยงานและสมาคมฯ นำส่งสถานีไทยพีบีเอส จำนวน 1จุด5 เปอร์เซ็น หรือ 2100 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายสถานี และนำส่งในรูปแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 7เปอร์เซ็น หรือไม่ต่ำกว่า 11500 ล้านบาท เพื่อนำไปเป็นงบประมาณรัฐ ทั้งหมดนี้รวมแล้วไม่ต่ำกว่าปีละ 177000 ล้านบาทที่สร้างเงินหมุนเวียนในประเทศ ก่อให้เกิดการจ้างงาน การลงทุนของผู้ประกอบการรายย่อย การหมุนเวียนของ Supply Chain ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาคธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม ไปจนถึงการท่องเที่ยว

ขอบคุณ workpointnews

เรียบเรียง มุมข่าว

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ