เงินกองทุนทดแทนกรณีว่างงานประกันสังคม อาจไม่พอจ่าย
นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย เปิดเผยผ่านรายการถามตรงๆ กับจอมขวัญ กล่าวว่า สิ่งที่ตนกังวล คือ เงินกองทุนทดแทนกรณีว่างงานที่มีอยู่ 160000 ล้านบาทนั้นจะไม่พอจ่ายให้กับผู้ประกันตนที่ว่างงานเพราะเศรษฐกิจตามกรอบเดิม และที่มีการแก้ประกาศใหม่กฎกระทรวงใหม่ ที่จะจ่ายเงินให้กับผู้ที่ได้รับผลกระ ว่างงาน ที่มีอยู่ 1 แสนหกหมื่นล้านมาจ่ายให้ลูกจ้าง
ทั้งนี้ แต่เดิมกองทุนทดแทนกรณีว่างงานต้องจ่ายเงินให้กับผู้ประกันตนที่ตกงาน และลาออกจากงาน ในอัตราละ 30 เปอร์เซ็นต์ เป็นจำนวน 90 วัน กรณีเลิกจ้าง ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นจำนวน 180 วัน ตรงนี้มีตัวเลขผู้รับเงินอยู่แล้ว 170000 คน พอมี CO VID เข้ามาก็ต้องขยายอัตราการจ่ายเป็น 62 เปอร์เซ็นต์
เงินกองทุนที่มีอยู่ 160000 ล้านบาท จะต้องถูกแบ่งไปจ่าย คนตกงาน และตกงานเพราะสถานประกอบการปิด อย่าลืมว่า ผู้ประกันตนที่เดินทางกลับภูมิลำเนา หรือผู้ที่กำลังอยู่ในช่วงหยุดพักนั้นมีโอกาสสูงที่จะไม่ได้กลับมาทำงานไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ
ณะเดียวกัน เราอยากนำเสนอให้รัฐบาลรับกลุ่มผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่รับเงินเดือนต่ำกว่า 8 พันเข้าไปอยู่ในระบบเราไม่ทิ้งกันเพราะตรงนี้เกิดความเหลื่อมล้ำ เพราะเขาได้เงินจากประกันสังคมแค่ 4000 กว่าบาทในขณะที่เราไม่ทิ้งกันได้ 5 พันบาท ซึ่งตรงนี้มีตัวเลขผู้ที่ได้รับเงินเดือน 8 พันบาทประมาณ 2 แสนคน
รวมถึงกลุ่มบุคคลที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพ ที่ส่วนใหญ่ไปประกอบอาชีพอิสระ เช่น ช่างตัดผม ขายข้าวแกง ขายของตามตลาดนัด ที่มีผลตั้งแต่ปี 57 เขาได้เงินเพียงแค่ 2000ถึง4000 บาท รัฐบาลก็ระงับสิทธิ์เขา ซึ่งบางคนได้รับผลกระทบจริงๆ ส่วนตรงนี้กระทรวงการคลังก็น่าจะรับไปดูแลด้วย
นอกจากนี้กลุ่มโรงแรม ท่องเที่ยว หรือสถานประกอบการที่มีเอาต์ซอร์ส พวกแรงงาน ก็น่ากลับเข้าไปอยู่ 5 พันบาท ซึ่งเราก็เสนอไป คำตอบที่ได้ คือ มติครม ก็ออกมาสถานประกอบการที่ต้องหยุดงานเพราะได้รับผลกระทบจากโควิดจะเข้าอยู่ในการว่างงานและจ่ายเงินเยียวยา 62 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้ ทั้งนี้ จึงเกิดคำถามว่า สถานประกอบการใหญ่ๆ ที่ใช้มาตรา 75 พรบ คุ้มครองแรงงานฯ นายจ้างต้องจ่ายเงินเดือนลูกจ้าง 75 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้ เขาได้เยอะกว่า จึงเกิดปัญหา
และช่องว่างของผู้ประกันตน 2 กลุ่ม ก็อาจจะเป็นปัญหาได้ว่า บริษัท ก ไม่มีออเดอร์ตั้งแต่เดือนมี.ค. จึงสั่งหยุดงานด้วยการจ่ายเงินเดือน 75เปอร์เซ็นต์ ตาม พรบ แรงงาน เขาจ่ายไปแล้วไม่ใช่เหตุสุดวิสัย แต่พอกฎกระทรวงออกมาแบบนี้ ถ้าเกิดมีนายจ้างหัวใส อาจจะใช้ช่องทางนี้สั่งหยุดแล้วบอกว่านี่คือเหตุสุดวิสัย ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเดือนลูกจ้าง 75เปอร์เซ็นต์ และให้มาใช้เงิน 62เปอร์เซ็นต์ ในกองทุนว่างงานแทน
ด้าน นางสาวอรุณี ศรีโต คณะกรรมการประกันสังคม ฝ่ายผู้ประกันตน กล่าวว่า ถ้าสถานประกอบการบอกว่าจำเป็นต้องหยุด ก็มาใช้สิทธิ์ 62 เปอร์เซ็น ได้ แต่ถ้าสถานประกอบการบอกขายของไม่ดี แต่หยุดเอง โดยที่รัฐบาลไม่ได้สั่งให้หยุด ก็ต้องทำ พรบ คุ้มครองแรงงาน นายจ้างต้องจ่ายเงินเดือนให้กับลูกจ้างเอง 75 เปอร์เซ็น ทั้งนี้ ในที่ประชุม เราก็กังวลเหมือนกันเพราะอยากให้ใช้เงินกองทุนว่างงานให้ถูกต้อง สถานประกอบการหลายแห่งที่ไม่ได้ถูกรัฐสั่งปิด เขาต้องจ่ายเงินลูกน้องเอง สิ่งที่กังวล
คือว่า เหตุสุดวิสัย เขาก็จะใช้ช่องนี้ให้ประกันสังคมจ่าย นั่นแสดงว่า เงินกองทุนว่างงานของประกันสังคมก็ไม่พอจ่าย เจตนาเดิมกองทุนทดแทนกรณีว่างงาน มีไว้เพื่อจ่ายเงินให้กับผู้ประกันตน หรือลูกจ้างกรณีว่างงาน หรือลาออกจากงาน เมื่อถามกลับไปว่า หากเงินกองทุนทดแทนกรณีว่างงานไม่พอ รัฐบาลจะเอาเงินมาใส่ให้หรือไม่
ในความเป็นจริงเรารับได้ประมาณ 8 แสนคน สิ่งที่บอร์ดห่วงคือ ปลายปี 63 ต้นปี 64 จะมีคนลาออก ลูกจ้างก็ต้องมายื่นขอรับเงินกรณีว่างงาน หรือลาออกจากงาน และเขา คือ เจ้าของเงินที่แท้จริง ซึ่งหากมากันเยอะ เงินกองทุนว่างงานก็จะไม่พอจ่าย อย่าลืมว่าเงินของประกันสังคมมีเจ้าของ
ขอบคุณ ไทยรัฐ
เรียบเรียง มุมข่าว