ประกันสังคมช่วยเหลือ ม 33
ความคืบหน้าการช่วยเหลือลูกจ้างในระบบประกันสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการที่นายจ้างปิดกิจการเพราะผลกระทบจาก CO VID ก่อนหน้านี้แรงงานกลุ่มนี้ ถือเป็นกลุ่มที่ไม่เข้าข่ายได้รับความความช่วยเหลือ ล่าสุด บอร์ดประกันสังคม เคาะเสนอให้มีการแก้ กฎกระทรวง เพื่อปรับให้ลูกจ้างกลุ่มนี้ เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุสุดวิสัย ซึ่งคาดว่าจะได้เงินอย่างเร็วที่สุดภายในวันจันทร์ที่ 20 เมษายน นี้
การประชุมคณะกรรมการประกันสังคมและที่ปรึกษา ครั้งที่ 7ทับ2563 หรือ บอร์ดประกันสังคม ที่เป็นการประชุมร่วมกัน 3 ฝ่าย ทั้งรัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้าง ได้ข้อสรุปว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ สถานการณ์ตอนนี้เป็น เหตุสุดวิสัยตาม พรบ ประกันสังคม ซึ่งทำให้ต้องมีการแก้ไขกฎกระทรวง เพื่อปลดล็อกให้สามารถ นำเงินใน กองทุนประกันการว่างงาน มาดูแลผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่กำลังได้รับผลกระทบจากการที่นายจ้างปิดกิจการชั่วคราว
ประกันสังคมช่วยเหลือ ม33 รับเงินช่วยเหลือ
นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานบอร์ดประกันสังคม บอกว่า หลังจากนี้ บอร์ดฯ จะจัดทำรายงานผลกระทบวินัยทางการเงิน การคลัง เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันพรุ่งนี้ 15เมษายน 63 ก่อนจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันศุกร์นี้ จากนั้นจึงจะนำเงินกองทุนประกันการว่างงาน ที่มีอยู่ 1จุด6 แสนล้านบาท มาใช้ได้
ส่วนการจ่ายเงินช่วยเหลือให้ลูกจ้าง คาดว่าเร็วที่สุดจะสามารถโอนได้ภายในวันจันทร์ที่ 20 เมษายนนี้ แบ่งออกเป็น 2 ล็อต ล็อตแรก คือ กลุ่มที่รัฐฯสั่งปิดกิจการ ส่วนกลุ่มที่นายจ้างปิดกิจการเองชั่วคราว ก็จะทยอยได้รับในลำดับถัดไป ตามคิวการลงทะเบียนของนายจ้างกับสำนักงานประกันสังคม
สำหรับเกณฑ์ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือจากการที่นายจ้างปิดกิจการชั่วคราว โดยจะรับเงินชดเชยอยู่ที่ประมาณ 62เปอร์เซ็น จากฐานเงินเดือนที่ส่งเข้าระบบประกับสังคมสูงสุด 15000 บาท เท่ากับว่า จะได้รับเงินชดเชยสูงสุดไม่เกิน 9300 บาทต่อเดือน ตลอดระยะเวลาที่ได้รับกระทบ แต่ไม่เกิน 3 เดือน
สำนักงานประกันสังคม จึงขอให้นายจ้าง ลงทะเบียนเพื่อรับรองการหยุดงานของลูกจ้างจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อได้ที่ เว็ปไซต์ www sso go th ซึ่งปัจจุบันมีนายจ้างเพียง 37000 แห่ง หรือ คิดเป็นลูกจ้างราว 800000 คนเท่านั้น ที่แจ้งความประสงค์ของรับสิทธิประโยชน์ต่างๆเข้ามา
เรียบเรียง มุมข่าว