ถึงคิวเกษตรกรคลังนัดถกจ่ายเงิน 1 ทะเบียนบ้าน 1 สิทธิ์รับเลย 9 ล้านครัวเรือน
เมื่อวันที่ 11 เมษายน เพจ Taxforsme com ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ถึงคิวเกษตรกรคลังนัดถกจ่ายเงิน 1 ทะเบียนบ้าน 1 สิทธิ์รับเลย 9 ล้านครัวเรือน คลังนัดถกสรุปเงินเยียวยาเกษตรกรอีกครั้ง วันที่ 14 เมยนี้ จ่อใช้เกณฑ์อิงตามทะเบียนบ้านจ่ายเงินเป็นครัวเรือน ด้านความคืบหน้าการจ่ายเงินเยียวยา 5 พันบาท ลงทะเบียนเราไม่ทิ้งกันอีกรอบ 12ถึง13 เมยนี้ รวม 600000 คน ชี้ยอดลงทะเบียนล่าสุดพุ่งถึง 26 ล้านคน หลังรัฐเริ่มจ่ายเงินให้ผู้ผ่านเกณฑ์ ยังไม่สรุปเยียวยาเกษตรกร 15000 หรือ 30000 รอประชุม14 เมย
ขณะนี้ยังสรุปตัวเลขที่จะจ่ายเงินเยียวยาเกษตรว่าจะช่วยเหลือที่ 15000 บาท หรือ 30000 บาทเพราะต้องรอดูรายละเอียดให้ครบถ้วน ซึ่งกระทรวงการคลังได้สั่งนัดประชุมหารือกันอีกครั้งในวันที่ 14 เมย 63 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม และการยางแห่งประเทศไทย กยทในเบื้องต้นมีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรฯ และอยู่ในระบบของฐานข้อมูลภาครัฐแล้ว 8จุด5 ถึง 9 ล้านครัวเรือน ธกสจะต้องนำข้อมูลทั้งหมดมาตรวจสอบดูเพื่อให้ไม่ซ้ำซ้อนกันเนื่องจาก
การจ่ายเงินเกษตรกรจะจ่ายให้เป็นรายครัวเรือน ไม่ใช่รายบุคคลเหมือนกับการจ่ายเงินเยียวยากลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ โดย ธกส ใช้วิธีนี้เนื่องจากมองว่าถ้าจ่ายเงินรายบุคคลจะซ้ำซ้อนกับมาตรการอื่น เพราะรัฐบาลมีการช่วยเหลือเกษตรกรเป็นรายพืช นอกจากนี้ การที่ CO VID ระบาด ทำให้แต่ละครอบครัวมีภาระรายจ่ายเพิ่มมากขึ้น เกณฑ์ในการคัดกรองว่าครัวเรือนไหนควรได้รับสิทธิ์บ้าง อาจจะอิงกับทะเบียนบ้านที่พักอาศัย อาทิ ครัวเรือนหนึ่งหากประกอบอาชีพหลายอย่าง เช่น สามีปลูกข้าว ภรรยาปลูกอ้อย เป็นต้น
1 ครอบครัว จะได้รับเงินช่วยเหลือเพียง 1 สิทธิ์ แต่ถ้าหากผู้ที่เป็นลูกทำอาชีพปลูกข้าวเหมือนกัน แต่มีชื่ออยู่คนละทะเบียนบ้าน และแปลงที่ปลูกข้าวไม่ได้เป็นแปลงเดียวกันกับพ่อของตนเอง ก็มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาจากภาครัฐ หลังจากสรุปรูปแบบการจ่ายเงินรวมทั้งข้อกำหนดต่างๆแล้ว จะต้องเสนอเรื่องให้คณะกรรมการกลั่นกรอง ที่มีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ก่อนจะเสนอคณะรัฐมนตรี ครม เพื่อขอให้เงินจากพระราชกำหนด พรก กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ซึ่งในส่วนของ ธกส จะขอใช้งบรวมสำหรับช่วยผู้ที่ได้รับผลกระทบ 600000 ล้านบาท
ซึ่งเงินจำนวนนี้จะแบ่ง เป็น 3 ส่วน คือ
1 เกษตรกร
2 กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ
3 และด้านสาธารณสุข ส่วนมาตรการช่วยเหลือภัยแล้ง ธกส ได้เตรียมไว้แล้ว เช่น การขยายเวลาชำระหนี้และ การให้สินเชื่อ เพื่อให้เกษตรกรกู้ไปปรับปรุงระบบน้ำ ในช่วงภัยแล้ง ดอกเบี้ยผ่อนปรน 0เปอร์เซ็น ในระยะเวลา 2 ปี วงเงินรวม 5000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามขณะนี้ ธกสได้พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม เอสเอ็มอี วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จำนวน 6 เดือน ตั้งแต่เดือน เมย ถึง มิย63 ตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธปท แล้ว นายอุตตม สาวนายน รมว คลัง เผยว่า ผู้ที่เข้ามาลงทะเบียนในมาตรการ 5000 บาทในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระนั้น
จะพิจารณาผู้ที่ลงทะเบียนทุกรายแน่นอน ส่วนคนที่กรอกข้อมูลไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ คลังจะติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ขายของจริงหรือเปล่า เป็นต้น ส่วนถ้าหากยังหาหลักฐานการประกอบอาชีพไม่เจอ ก็จะตรวจสอบกับหน่วยงานอื่นๆต่อไป ส่วนกรณีนักศึกษานั้นอยากจะให้ครอบครัวช่วยดูแลคนกลุ่มนี้ไปก่อนส่วนคนที่กู้เงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กยศ นั้นทางกองทุนก็มีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้แล้ว ส่วนกลุ่มแรงงานก่อสร้าง และบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ปัจจุบันยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ รัฐบาลเตรียมจะช่วยเหลือกลุ่มที่ตกหล่นต่อไป
ด้านนายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงาน เศรษฐกิจการคลัง สศค กล่าวว่า มาตรการช่วยเหลือ จำนวน 5000 บาทต่อเดือน ล่าสุด ณ วันที่ 10 เมย 63 มียอดลงทะเบียนผ่าน www เราไม่ทิ้งกัน เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ26 ล้านคน หลังจากรัฐบาลเริ่มจ่ายเงินให้ผู้ได้รับผลกระทบ สำหรับผู้ผ่านการคัดกรองรอบแรกและเริ่มจ่ายเงินรอบแรกไปแล้วเมื่อ 8ถึง10 เม ย นี้
มีทั้งหมด1จุด6 ล้านคน จ่ายเงินครบแล้วตั้งแต่ 10 เมย ที่ผ่านมา โดยมียอดการจ่ายเงิน 1จุด4 ล้านคน ส่วนอีกกว่า 200000 คน มีชื่อลงทะเบียนกับชื่อบัญชีเงินฝากไม่ตรงกัน ซึ่งคลังจะส่งข้อความเอสเอ็มเอสไปให้ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ ไปแก้ไขข้อมูลบัญชีเงินฝากให้ตรงกับชื่อลงทะเบียนที่ wwwเราไม่ทิ้งกัน และจะเริ่มจ่ายเงินอีกครั้งใน 13ถึง14 เมย รวม 600000 คน หรือจ่ายวันละ 300000 คน
ขอบคุณ ไทยรัฐ Taxforsme com
เรียบเรียง มุมข่าว