จุฬาทำสำเร็จ ชุดตรวจ10นาทีรู้ผล

จุฬาทำสำเร็จ ชุดตรวจ10นาทีรู้ผล

นับว่าเป็นข่าวดีมากๆสำหรับประเทศไทย ที่สามารถทราบผลตรวจ CO VID ได้รวดเร็วขึ้นใช้เวลาเพียงแค่ 15 นาที ศ นพ ดร นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน CO VID ของจุฬาฯ กล่าวถึงระบบบริการตรวจสอบ CO VID อย่างรวดเร็วที่พัฒนาร่วมกับทีมกลุ่มสตาร์ทอัพจุฬาฯ และเครือข่ายพันธมิตรว่า สถานการณ์ในขณะนี้ คนไทยกำลังวิตกกังวลกันว่าท่านติดเชื้อไวรัสนี้แล้วหรือยัง

เราจึงได้ออกแบบระบบการให้บริการใหม่ CHULA COVID-19 STRIP TEST SERVICE ที่ช่วยคัดกรองผู้ป่วยในเบื้องต้นจากบ้านของท่าน ผ่านการทำแบบสอบถามสุขภาพออนไลน์บน Web Application เป็ดไทยสู้ภัย และแพลตฟอร์ม Telemedicin 3 ตัว คือ Chiwi Dr A Z และ Raksa จนกรองผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง

หรือ PUI ออกมาและตรวจเฉพาะกลุ่มนี้ด้วย CO VIDS trip Test ที่กลุ่มสตาร์ทอัพจากคณะเภสัชศาสตร์ของเราพัฒนาขึ้นทั้งแบบ Drive Thru และ Walk Thru ภายในไม่เกิน 15 นาที ท่านจะทราบผลการตรวจ หากผลเป็นบวก ท่านจะต้องไปตรวจ PCR ย้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันการติดเชื้อที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แต่หากผลออกมาเป็นลบ ท่านก็ยังต้องกักตัวเองต่อไปอย่างน้อยอีก 14 วัน

เพราะสถานะของท่านยังอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง จะเห็นว่าการตรวจของเราไม่ได้จะมาแทนที่ระบบ PCR ที่มีมาตรฐานความแม่นยำสูงแต่อย่างใด ในทางกลับกันกระบวนการของเราจะช่วยสนองนโยบาย Social Distancing ลดการออกจากบ้านมาเสี่ยงติดเชื้อของทั้งของท่านและของหมอ ลดภาระงานให้บุคลากรทางการแพทย์ ช่วยคลายความกังวลใจและได้คัดกรองผู้ป่วยในขั้นต้นที่หลายฝ่ายคาดกันว่าอาจมีปริมาณมากเกินกำลังที่โรงพยาบาลทั่วประเทศจะรับไหว

ลงทะเบียนและเริ่มใช้ 30 มีนาคม นี้ สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เรารบชนะได้ในครั้งนี้ คือความร่วมมือของประชาชน การปฏิบัติตามมาตรการ Social Distancing อย่างเคร่งครัด ประกอบกับการดูแลสุขอนามัยของท่านเป็นอย่างดี นั่นก็เท่ากับว่าท่านได้ช่วยชาติ ช่วยหมอ ช่วยพยาบาล ในสภาวะนี้แล้วนะครับ เราจะดูแลพวกท่านอย่างสุดความสามารถ

และนี่คือประโยชน์ที่ส่งตรงถึงคนไทยจากทีมสตาร์ทอัพจุฬาฯ และเครือข่ายพันธมิตรที่ร่วมกันทำงานแข่งกับเวลาพัฒนานวัตกรรมบริการนี้ขึ้นมาให้บริการคัดกรองท่านทางออนไลน์ ตามขั้นตอนต่าง ๆ ได้ตั้งแต่วันนี้เลยนะครับ และศูนย์ของเราจะพร้อมให้บริการท่านตั้งแต่ 30 มีนาคมนี้เป็นต้นไป ศ นพ ดร นรินทร์ กล่าวทิ้งท้าย

โครงการนี้ถือเป็นงานวิจัย Actual Use Research ที่อยู่ระหว่างเก็บข้อมูลในวงกว้างโดยการควบคุมและกำกับดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภายในสถานที่ที่กำหนดภายใต้โครงการคัดกรองผู้ที่สมควรจะได้รับการตรวจและมีขั้นตอนในการปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นผลบวกหรือลบ ผู้เข้าร่วมโครงการจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดใดทั้งสิ้น

สำเร็จแล้วชุดตรวจ CO VID

โพสต์ดังกล่าว

นับว่าเป็นข่าวดีมากๆครับ ถ้ารู้เร็วก็รักษาได้เร็วโอกาสรอดก็สูง

ขอบคุณ Chulalongkorn University

เรียบเรียง มุมข่าว

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ