นอกจาก แจกเงิน 2 พันแล้ว ยังมีอีหลายมาตรการ

นอกจาก แจกเงิน 2 พันแล้ว ยังมีอีหลายมาตรการ

มาดูกันว่าจากที่หลายๆคนได้รับฟังข่าวกันมาแล้วสำหรับการแจกเงิน 2000 บาท ที่ประชุมครม เศรษฐกิจ อนุมัติมาตรการทั้งการเงินและภาษี ทั้งให้ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ พักชำระเงินต้น ลดภาษี เพื่อช่วยเหลือผลกระทบจาก CO VID เมื่อวันที่ 6 มีนาคม นายอุตตม สาวนายน รมว คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุม ครม เศรษฐกิจ ว่า นอกจาก ครม เศรษฐกิจ จะอนุมัติ มาตรการแจกเงิน ผู้มีรายได้น้อย เกษตรกร และผู้ประกอบการชีพอิสระ เป็นจำนวนเงิน 2000 บาท โดย จ่ายเดือนละ 1000 บาท จำกัดไม่เกิน 2 เดือน เริ่ม เมษายน 2563 ผ่านระบบพร้อมเพย์ โดยผู้ได้รับสิทธิ์จะได้รับกี่คน และต้องใช้วงเงินเท่าใด ยังต้องมีการไปหารือในรายละเอียดอีกครั้ง โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรี ครม อนุมัติ 10 มีนาคม นี้แล้ว

ที่ประชุมได้มีการอนุมัติ มาตรการดูแลผลกระทบ CO VID ชุดที่ 1 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป โดยมาตรการด้านการเงิน จะมี 4 เรื่อง ประกอบด้วย

1 สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ซอฟต์โลน โดยให้ธนาคารออมสินจะปล่อยกู้ ให้กับสถาบันการเงินอื่นๆ ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0จุด01 เพื่อให้สถาบันต่างปล่อยกู้ต่ออัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 2

2 มาตรการพักชำระเงินเงินต้น ผ่อนภาระดอกเบี้ย และขยายเวลาชำระหนี้

3 การปรับโครงสร้างหนี้ โดยการยืดเวลาชำระหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ย เปลี่ยนแปลงประเภทเงินกู้ และลดค่าธรรมเนียมต่างๆ เป็นมาตรการแบบผ่อนคลายถึง 31 ธันวคม 2563

4 มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของสำนักงานประกันสังคม จะให้นายจ้างและลูกจ้างกู้ได้ เพื่อบรรเทาภาระและเป็นเงินทุนเวียน โดยหลังจากนี้สำนักงานประกันสังคมจะกลับไปพิจารณาหลักการดำเนินงาน

ส่วนมาตรการทางภาษี มี 4 เรื่องเหมือนกัน คือ

1.ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กับผู้ประกอบการเป็นการชั่วคราว

2 ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่กู้เงินซอฟต์โลน ได้สิทธินำภาระดอกเบี้ยเป็นรายจ่ายลดหย่อนภาษี

3 ส่งเสริมการจ้างงาน โดยให้ผู้ประกอบการนำรายจ่ายลูกจ้างมาหักลดหย่อนภาษีได้ 3 เท่า ตั้งแต่ 1 เมษายน ถึง 31 กรกฎาคม  2563

4 เร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม Vat ภายใน 15 วัน ให้กับผู้ประกอบการที่ยื่นแบบผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และไม่เกิน 45 วัน

สำหรับผู้ประกอบการที่ยื่นแบบปกติ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับกับการลดค่าธรรมเนียม ค่าเช่า ให้กับผู้ประกอบการ มาตรการลดค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าพลังงาน ซึ่งยังต้องไปพิจารณาถึงอัตราที่เหมาะสมก่อน และยังมีมาตรการลดเงินสมทบประกันสังคมของผู้ประกอบการ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายเงินงบประมาณ รวมถึงมาตรการด้านตลาดทุนด้วย

ขอบคุณ ไทยรัฐ

เรียบเรียง มุมข่าว

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ