สถาบันเหล็ก โต้ โรงงานเหล็กจีน ลั่น เครื่องทดสอบมีมาตรฐาน ISO ให้ผลแม่นยำ

สถาบันเหล็ก โต้ โรงงานเหล็กจีน ลั่น เครื่องทดสอบมีมาตรฐาน ISO ให้ผลแม่นยำ

วันที่ 21 เม.ย. จากกรณี ตัวแทนจาก บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด ได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าวอ้างถูกกล่าหาว่าเหล็ที่มีสัญลัษณ์ SKY ไม่ได้มาตรฐานและเป็นสาเหตุให้เกิดเหตุตึกสตง.ถล่ม โดยระบุว่า บริษัทฯ เชื่อว่าสาเหตุการถล่มน่าจะมาจากปัจจัยอื่น เช่น การออกแบบ หรือการลดสเปคการก่อสร้าง เนื่องจากตัวอย่างเหล็กที่เก็บจากซากตึกไปตรวจสอบเป็นเหล็กที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ไม่สามารถอ้างอิงผลการตรวจสอบได้

นอกจากนี้ ตัวแทนซินเคอหยวน ยังได้ระบุอีกว่า ผลการตรวจสอบเหล็กจากตึก สตง.ถล่ม ของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เป็นเหล็กที่ถูกใช้งานแล้ว ไม่ใช่เหตุผลที่จะบอกว่าเหล็กตกมาตรฐาน เพราะการตรวจสอบอยู่นอกขอบข่ายของห้องปฏิบัติการ จึงไม่สามารถนำมาวัดค่ามาตรฐานอุตสาหกรรมได้ หมายความว่าผลการตรวจสอบสารโบรอนนำมาใช้อ้างอิงว่าต่ำกว่ามาตรฐานให้มีผลทางกฎหมายเป็นไปด้วยความไม่ชอบธรรม แม้ผลการตรวจสอบเหล็กของอีก 2 บริษัทจะออกมาตรงตามมาตรฐานก็ตาม อีกทั้งบริษัทไม่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการตรวจสอบด้วย ทางบริษัทจึงไม่รับรู้ผลการตรวจสอบแต่อย่างใด

กับกรณีดังกล่าว ล่าสุดวันเดียวกันนี้ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย (IRON AND STEEL INSTITUTE OF THAILAND) ได้ออกหนังสือชี้แจงระบุว่า ขีดความสามารถและศักยภาพของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบทางเคมีของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

ตามที่ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยถูกพาดพิง จากการแถลงข่าวของ บริษัท ชินเคอหยวน สตีล จำกัด ว่าเครื่องมือทดสอบสำหรับการวิเคราะห์ค่าปริมาณของธาตุโบรอนในผลิตภัณฑ์เหล็ก ไม่ได้ตามมาตรฐาน ไม่สามารถตรวจค่าต่ำกว่า 9 ppm (9 ส่วนในล้านส่วน) ได้ นั้น

นายวิโรจน์ โรจน์วัฒนชัย ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า สถาบันเหล็กฯ ทำการวิเคราะห์ค่าปริมาณของธาตุโบรอนในผลิตภัณฑ์เหล็กด้วยเครื่องทดสอบส่วนผสมทางเคมีของโลหะ (Optical Emission Spectrometer; OES) ยี่ห้อ Spectrolab รุ่น Model : Lavm12, Type :

76004140 S/N : 16002150 ซึ่งเป็นยี่ห้อชั้นนำที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และผลิตในประเทศเยอรมัน

โดยเครื่องทดสอบดังกล่าวมีขีดความสามารถในการทดสอบ (range) ที่สามารถทดสอบส่วนผสมของธาตุ

โบรอน (B) ได้ตั้งแต่ 0.0001% (1 ppm) ถึง 0.014% (140 ppm) ซึ่งครอบคลุมช่วงของปริมาณธาตุโบรอน ตามข้อกำหนดของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต: เหล็กข้ออ้อย ที่กำหนดให้ปริมาณของธาตุโบรอนจะต้องไม่เกิน 0.0008% (8 ppm) จึงสามารถตรวจสอบปริมาณธาตุโบรอนได้อย่าง แม่นยำแน่นอน

อนึ่ง ผลการตรวจสอบปริมาณธาตุโปรอนในผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต: เหล็กข้ออ้อยของบริษัท ชินเคอหยวน สตีล จำกัด ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2567 พบว่าเหล็กข้ออ้อย ขนาด DB32 ชั้นคุณภาพ SD50 มีปริมาณธาตุโบรอน 10 ppm ซึ่งเกินค่ามาตรฐาน และเหล็กข้ออ้อย ขนาดDB25 ชั้นคุณภาพ 5D40 มีปริมาณ

ธาตุโบรอน 12 ppm ซึ่งเกินค่ามาตรฐาน

ดังนั้น การอ้างว่าเครื่องทดสอบที่สถาบันเหล็กฯ ได้ขึ้นทะเบียนตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 กับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นเครื่องทดสอบที่ไม่สามารถตรวจได้อย่างแม่นยำนั้นไม่เป็นความจริง อีกทั้งผลการตรวจสอบ ปริมาณธาตุโบรอนที่เกินมาตรฐานที่ 10-12 ppm ก็อยู่ในช่วงการวัดที่เครื่องทดสอบทำงานได้อย่างแม่นยำ โดยไม่มีข้อถกเถียง

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ