โรงงานดัง ปลดฟ้าผ่า พนง.ต้องไปร้องกรมแรงงาน ช็อกซ้ำ โรงงานปิดกว่า 360 แห่ง ปลดคนรวมกว่า 10,000 คน

โรงงานดัง ปลดฟ้าผ่า พนง.ต้องไปร้องกรมแรงงาน ช็อกซ้ำ โรงงานปิดกว่า 360 แห่ง ปลดคนรวมกว่า 10,000 คน

เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2567 BTimes ได้มีการรายงานว่า บริษัท วี.เอ็ม.ซี. เซฟตี้กลาส (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานผลิตกระจกนิรภัยรถยนต์ และกระจกอาคาร ติดประกาศข้อความให้พนักงานรับทราบเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 มีดังนี้

เรียน พนักงานบริษัท วีเอ็ม.ซี.เซฟตี้กลาส (ประเทศไทย) จำกัด เนื่องด้วยบริษัท วีเอ็ม.ซีเซฟตี้กลาสประเทศไทย จำกัด ได้ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ทำให้กิจการของบริษัทฯ ประสบสภาวะขาดทุนสะสม ขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ติดต่อกันหลายปี ทำให้ปัจจุบัน บริษัทตกอยู่ในภาวะวิกฤตไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้

บริษัท วี.เอ็ม.ซี เซฟตี้กลาส (ประเทศไทย) จำกัด ได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานทุกท่านตั้งแต่ วันที่ 30 เมษายน 2567 เป็นต้นไป จึงปิดประกาศให้ทราบทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2567

ในเวลาต่อมา พนักงานบริษัทวี.เอ็ม.ซี เซฟตี้กลาส (ประเทศไทย) จำกัด ทั้งหมด 62 คน เดินทางไปสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเขียนคำร้องยื่นต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ให้นายจ้าง จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เนื่องจากถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมและไม่มีการแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้า

กรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยสถิติการเลิกกิจการโรงงาน ไตรมาส 1/2567 ว่า จำนวนกิจการเลิก/ยุติ มี 367 โรง คิดเป็นเงินลงทุน 9,417.27 ล้านบาท มีการเลิกจ้างพนักงานรวมทั้งสิ้น 10,066 คน ประกอบด้วยโรงงานประเภท 2 มีเครื่องจักรไม่เกิน 75 แรงม้า จำนวน 19 โรง คิดเป็นเงินลงทุน 195.38 ล้านบาท โรงงานประเภท 3 มีเครื่องจักรเกิน 75 แรงม้า จำนวน 348 โรง คิดเป็นเงินลงทุน 9,221.79 ล้านบาท สำหนับพื้นที่ที่มีการยุติ/เลิกโรงงานสูงสุด คือ จังหวัดชลบุรี กรุงเทพฯ และพระนครศรีอยุธยา

ประเภทโรงงานที่เลิกกิจการ

อันดับ 1 การขุดลอกกรวดทรายหรือดิน

อันดับ 2 การทำพลาสติกเป็นเม็ดแท่งท่อหลอดแผ่นชิ้นผง หรือรูปทรงต่าง ๆ

อันดับ 3 การทำภาชนะบรรจุเครื่องมือหรือเครื่องใช้จากไม้ และรวมถึงชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

อันดับ 4 การกลึงเจาะขวานกัดใสเจียนหรือเชื่อมโลหะทั่วไป

อันดับ 5 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยก หรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว

ขณะที่ในไตรมาส 1 ในปี 2566 พบว่ามีการเลิกกิจการ 169 โรง คิดเป็นเงินลงทุน 2,432.72 ล้านบาท มีการเลิกจ้าง 3,745 คน พื้นที่ที่มีการยุติ/เลิก สูงสุด คือ สมุทรปราการ กรุงเทพฯ และชลบุรี ประเภทโรงงานที่เลิกกิจการ อันดับ 1 การขุดลอก กรวด ทราย หรือดิน

อันดับ 2 การทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม

อันดับ 3 การดูดทราย

อันดับ 4 การทำเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องเรือนพลาสติก

อันดับ 5 การต้มนึ่งหรืออบพืชหรือเมล็ดพืช, การเป่าหัวพืชหรือทำหัวพืชให้เป็นเส้นแว่นหรือแท่ง, การทำวงกบขอบประตูหน้าต่าง บานหน้าต่าง, การทำภาชนะบรรจุหรือถุงหรือกระสอบ, การทำพลาสติก และการซ่อมแซมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ