สถานการณ์แย่ นายจ้างแบกรับไม่ไหว หยุดกิจการชั่วคราว หลายแห่งปิดถาวร ลูกจ้างตกงาน
เรียกได้ว่าเห็นแต่ละโรงงานทยอยปิดตัวลง ทำให้คนไทยหลายๆคนใจหายเป็นอย่างมาก หากใครที่มีงานประจำยังพออดทนทำไปได้ต่อก็ขอให้กอดงานประจำไว้ให้แน่น ล่าสุด ข้อมูลไตรมาสสุดท้ายปี 62 นายจ้างหันใช้ม 75 ไม่มีออเดอร์ให้ลูกจ้างทำงานที่บ้าน ได้เงินชดเชย แต่บางแห่งปิดถาวร กระทบลูกจ้างตกงานเพียบ เตรียมดันแก้อัตราจ่ายเงินว่างงานเพิ่ม
วันที่ 29 ตุลาคม 2562 นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนี้ว่า สถานการณ์แรงงานไทยไม่ดีขึ้น เห็นได้จากช่วงที่ผ่านมามีทั้ง เลิกจ้าง เออร์รี่ รีไทร์ และการมาใช้ มาตรา 75 พรบ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พศ 2551 ในเรื่องให้สิทธินายจ้างหยุดกิจการระหว่างไม่มีคำสั่งซื้อสินค้า แต่ต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างในระหว่างรอหยุดกิจการชั่วคราวไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ75 ซึ่งกรณีแบบนี้น่าจะพบเห็นเรื่อยๆ แต่ปัญหาคือ กังวลว่า จะมีการเลิกจ้างในที่สุด เพราะหลายอุตสาหกรรมไม่สามารถอุ้มกิจการให้เดินต่อไปได้
นายมนัส กล่าวว่า ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 บางสถานประกอบการจะใช้มาตรา 75 พรบ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2)พศ 2551 ที่กำหนดให้มีการจ่ายชดเชยไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 ให้กับลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบว่างงาน บางแห่งใช้นาน 6 เดือน บางแห่งใช้ 2 เดือน และบางแห่งก็ประกาศอย่างเป็นทางการ บางแห่งประกาศเป็นการภายใน ซึ่งถ้าเทียบระหว่างปี 2561 กับปี 2562 ถือว่าปีนี้มีการใช้มาตรา 75 มากกว่าปีที่แล้วถึงร้อยละ 40 อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการใช้มาตรา 75 เพราะต้องการจะรอออเดอร์เข้ามา ถ้าไม่มีก็คือต้องเลิกจ้าง แล้วถ้าไม่มีออเดอร์ต่อก็ปิดกิจการ ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว แต่อาจจะไม่ได้เป็นข่าว บางโรงงานแรงงานก็สมัครใจลาออก และได้รับค่าชดเชยมากกว่ากฎหมายกำหนด ตัวเลขว่างงานเลยไม่มีการขยับขึ้น
จากการติดตามการใช้สิทธิรับเงินชดเชยกรณีว่างงาน พบว่ามีเงินกองทุนที่มีอยู่ประมาณเกือบ 2 แสนล้านบาท ไม่มีการไหลออกเลย ก็ไม่รู้ทำไมคนว่างงานถึงไม่ไปใช้สิทธิรับเงินทดแทนการว่างงานตรงนี้ กรณีเลิกจ้างจะได้ชดเชยร้อยละ 50 ของเงินเดือนติดต่อกันนาน 6 เดือน ถ้าลาออกจะได้ ร้อยละ 30 นาน 3 เดือน เป็นต้น ดังนั้นตนพยายามตามเรื่องเดิมที่เคยยื่นต่อมรว จัตุมงคล โสณกุล รมว แรงงาน ให้ดำเนินการแก้ไขเรื่องการจ่ายชดเชยทุกกรณีว่างงานต้องจ่ายให้ร้อยละ 75 ของเงินเดือน เพราะต่อให้คนที่ถูกไล่ออก เขาก็ยังเป็นคนที่ส่งเงินสมทบอยู่ ถ้าให้แค่ร้อยละ 30 เท่ากับว่าเขาไม่ได้ใช้เงินที่เขาสมทบมาเลย นายมนัส กล่าว
นายมนัส กล่าวอีกว่า กลุ่มที่มีการใช้มาตรา 75 มากสุดคือกลุ่มยานยนต์ แล้วกรณีสมัครใจลาออกก็เป็นกลุ่มยานยนต์ ส่วนกลุ่มสิ่งทอนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2561 แล้ว นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยตอนนี้เรื่องการปิดกิจการถาวรก็มี แต่ยังไม่เห็นตัวเลขชัดเจน ส่วนสถานการณ์ปี 2563 ตนยังไม่มีตัวเลขในมือ แต่ในเครือสภาพัฒน์ที่ตนดูอยู่นั้นไม่มีการปิดกิจการ แต่กลุ่มอื่นๆ ต้องดูตัวเลขส่วนกลาง เพราะไม่มั่นใจว่าที่มีปัญหาจากสหรัฐอเมริกาตัดจีเอสพีนั้นจะรวนมาถึงปี 2563 หรือไม่ หากรัฐบาลแก้เกมไม่ได้ แต่แน่นอนที่สุดเรามองดูจีนว่าเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของไทย ใหญ่กว่าอเมริกา โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ทุนใหญ่ของจีน 1 ใน 3 อยู่ที่ประเทศไทย หากจีนกับอเมริกามีปัญหามากขึ้น จีนอาจจะมีการย้ายฐานการผลิตบางส่วนที่อเมริกามาอยู่ที่ไทยก็ได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะทำให้เกิดการจ้างงานในประเทศไทยมากขึ้น สิ่งสำคัญ สภาฯ จะผลักดันให้มีการปรับเพิ่มอัตราเงินทดแทนว่างงานทุกกรณีต้องจ่าย 75 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้าง
เลิกจ้าง
ประสบภาวะขาดทุนสะสม
อนึ่ง ปัจจุบันการจ่ายเงินกรณีว่างงาน จะแบ่งเป็น
1 กรณีถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างจะได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน
2 กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ลูกจ้างได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน 30% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
และ3 กรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชนและถึงขนาดผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติได้รับเงินทดแทน ลูกจ้างจะได้รับเงินทดแทน 50เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน
ขอบคุณ pptvhd36
เรียบเรียง mumkhao