คันกั้นน้ำแตก น้ำไหลหลากเข้าตัวเมือง เตือนเก็บของขึ้นที่สูง

คันกั้นน้ำแตก น้ำไหลหลากเข้าตัวเมือง เตือนเก็บของขึ้นที่สูง

วันที่ 9 ตุลาคม เกิดเหตคันกั้นน้ำแตก ที่คันกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา จุดวัดลัดเสนาบดี ต.เขาท่าพระ อ.เมือง จ.ชัยนาท พื้นที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งกำลังมีน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ชุมชนและพื้นที่การเกษตร

โดยชาวบ้านและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ช่วยกันทำคันดินกั้นน้ำที่มีความสูงกว่า 1 เมตร แต่ด้วยความที่นำมีมวลมหาศาลทำให้คันดินไม่สามารถต้านทานแรงดันน้ำได้ เกิดพังทลายขาดลงความยาวประมาณ 10 ม. เจ้าหน้าที่จึงนำรถแบ๊กโฮและใช้กระสอบทรายบิ๊กแบ๊ก วางลงเพื่อลดแรงดันน้ำเพื่อทำการซ่อมแซม

เพราะหากจุดนี้กั้นไม่อยู่ โอกาสที่มวลน้ำจะทะลักเข้าใกล้ตัวเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจก็มีสูง เจ้าหน้าที่จึงเร่งทำงานแข่งกับเวลาอย่างเต็มที่เพื่อกั้นน้ำเอาไว้ให้ได้ ซึ่งชาวบ้านมนพื้นที่บกว่านำในปีนี้ถือว่าใกล้เคียงกับปีน้ำท่วมใหญ่ปี 54

ส่วนสถานการณ์ภาพรวม ที่เขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท กุญแจสำคัญในการบริหารจัดการน้ำลงสู่ภาคกลาง พบว่าน้ำที่ไหลลงสู่เขื่อนเจ้าพระยาผ่านจุดวัดน้ำค่ายจิรประวัติ จ.นครสวรรค์ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปริมาณน้ำฝนจากทางตอนบนประเทศ วัดได้อัตรา 3,094 ลบ.ม./วิ

โดยระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ล่าสุดวัดได้ +17.71 เมตร ระดับน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่บ้านเรือนประชาชนริมตลิ่งใน 3 อำเภอเหนือเขื่อนเจ้าพระยาคือ อ.เมืองชัยนาท อ.วัดสิงห์ และ อ.มโนรมย์

โดยเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ได้ปรับเพิ่ม อัตราการระบายไปที่ 3,083 ลบ.ม./วิ เพื่อรักษาสมดุลของน้ำเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อน และเพื่อชะลอน้ำเหนือไว้ในลำน้ำเหนือเขื่อน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพื้นที่ท้ายเขื่อน ซึ่งจากการระบายน้ำในเกณฑ์ดังกล่าวส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนยกระดับขึ้น 50 ซม.ใน 24 ชม. เมื่อเวลา 14.00 น.ที่ผ่านมาวัดได้ +17.22 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เอ่อล้นสูงกว่าตลิ่ง 87 ซม.

ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่เขื่อนเจ้าพระยามีการปรับระดับการแจ้งเตือนจากธงเหลือง ในสถานการณ์เฝ้าระวัง ขึ้นเป็นธงแดง ซึ่งเป็นสถานการณ์เข้าขั้นวิกฤต ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพขึ้นมานอนริมถนนสายต่างๆ กันมากขึ้น โดยเฉพาะถนนคันคลองมหาราชที่ปัจจุบันมีกว่า 1,500 ครัวเรือนที่ต้องขึ้นมานอนริมถนน

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ