สุขพัฒน์ ร้อง ดีอีเอสหลังพ่อถูกหลอก
เรียกได้ว่าเป็นนักแสดงที่ได้มีเรื่องราวของทางคุณพ่อใน วันที่ 18 มกราคม 2565 ที่ ห้องประชุม MDES1 ชั้น9 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อม พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท. รอง โฆษก ตร.
ร่วมแถลงข่าวกรณี คุณพ่อของ นายสุขพัฒน์ หรือ ส้วม โล่ห์วัชรินทร์ อายุ 36 ปี ดารานักแสดง ถูกแก๊ง Call center แอบอ้างพนักงานบริษัทประกันภัย เอไอเอ. และเป็นตำรวจ สภ.ภูเก็ต หลอกโอนเงินสูญไปกว่า 1.35 ล้านบาท โดยอ้างว่าคุณพ่อกระทำผิด เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมาย หากไม่อยากให้บัญชีธนาคารต้องถูกฟรีซ(ระงับการใช้งาน)
เป็นระยะเวลานาน 7 เดือนเพื่อตรวจสอบ ขอให้โอนเงินในบัญชีมายังบัญชีธนาคารของพนักงาน ปปง.พ่อของตนหลงกลคนร้ายจึงโอนเงินไปบัญชีที่คนร้ายแจ้งมาจำนวน 3 ครั้ง ครั้งแรก 5 แสนบาท ครั้งที่สอง 5 แสนบาท ครั้งที่สาม 3.5 แสนบาท รวมเป็นเงิน 1.35 ล้านบาท เหตุเกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 15 ม.ค.
ที่ผ่านมาก่อนจะแจ้งความตำรวจ สน.พหลโยธิน แต่อายัดไม่ทันคนร้ายโอนเงินไปบัญชีม้าอื่นๆ หมด นายสุขพัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนเองก็ถูกคนร้ายโทร.มาอ้างเป็นตำรวจ สภ.เมืองเชียงใหม่ มีการพัวพันขบวนการผิดกฎหมายต้องโอนเงินให้ตรวจสอบถึง 3 ครั้งเหมือนกันแต่ไม่หลงเชื่อ ว่าจะเตือนพ่อแม่ที่บ้านให้ระวังแต่ก็ลืม
คุณพ่อจึงมาโดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกจนได้ตอนนี้คุณพ่อของตนเองกำลังอยู่ในอาการเครียดแล้วก็เสียดายเงินที่ตั้งใจสะสมมาหลายปีนายชัยวัฒน์ รมว.ดีอีเอส กล่าวว่า สำหรับบัญชีที่มีการโอนเงินไปนั้นทางเจ้าหน้าที่สืบทราบว่าเป็นบัญชีม้าและได้อายัดบัญชีไว้แล้วแต่ เงินจำนวนดังกล่าวถูกโยกย้ายออกนอกบัญชีไปแล้ว
ซึ่งในขณะนี้ทางตำรวจ อยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานดำเนินคดีตามขั้นตอนของกฎหมาย พร้อมฝากเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อหากมีบุคคลโทรศัพท์กล่าวอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหลอกให้โอนเงิน หรือส่งเอกสารหลักฐานมาทาง LINE เพราะ พอได้ภาพเหล่านี้สามารถตัดต่อได้
ยืนยันหน่วยงานราชการไม่มีการโทรหาประชาชนโดยตรง พร้อมเตือนไปยังผู้ที่ซื้อขายบัญชีธนาคารหรือรับเปิดบัญชีม้า ถือว่ามีความผิดฐานฟอกเงินในฐานะของผู้รับจ้างผู้กระทำความผิดอีกทอดหนึ่ง คดีของนายสุขพัฒน์ได้มอบให้ บช.สอท.และ บก.ปอท.ช่วยตรวจสอบคดี
จากพื้นที่ สน.พหลโยธินต่อไปด้วย ด้าน พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ รอง ผบก.ปอท.กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาอาชญากรรมในรูปแบบของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ มักจะแอบอ้างเป็นตำรวจหรือหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย จากนั้นอ้างว่าบัญชีธนาคารของท่านมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดหรือพัสดุที่ส่งไปต่างประเทศ
มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด ค้ามนุษย์ ฯลฯ ต้องโอนเงินในบัญชีธนาคารมาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้ว ปัจจุบันมีได้มีการพัฒนารูปแบบไปถึงการปลอมหมายเรียกของพนักงานสอบสวน หรือเอกสารของหน่วยงานราชการ เ
พื่อใช้ทำให้เหยื่อเกิดความตกใจหวาดกลัวว่าจะถูกดำเนินคดี จึงหลงกลโอนเงินไปยังบัญชีมิจฉาชีพ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอเรียนกับพี่น้องประชาชนว่า หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ ไม่มีความจำเป็นใดที่จะต้องให้เจ้าของบัญชีธนาคารโอนเงินมาให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อทำการตรวจสอบ
ซึ่งหากเป็นบัญชีธนาคารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด พนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่อาจใช้อำนาจตามกฎหมายทำการตรวจสอบข้อมูลกับธนาคารหรืออายัดเงินในบัญชีธนาคารดังกล่าว
เรียบเรียงโดย ทีมงาน มุมข่าวบันเทิง