อาจารย์จุฬาฯ วิเคราะห์กล่องสุ่ม พิมรี่พาย ทำไมถึงสำเร็จ
เรียกได้ว่าเป็นคนแรกของแม่ค้าออนไลน์ ที่ยังไม่มีใครเคยทำมาก่อน สำหรับการขายที่เพียงไม่กี่นาที หมดเกลี้ยงในพริบตา และที่น่าทึ่งที่สุดนั่นก็คือกล่องสุ่ม 1 แสนบาท ล่าสุด อาจารย์ด้านการตลาดจากจุฬาฯ วิเคราะห์เรื่องกล่องสุ่มของพิมรี่พาย ทำไมจึงสำเร็จ ทั้งที่คนซื้อทุ่มเงินเป็นแสน แต่ไม่รู้ล่วงหน้าว่าจะได้อะไร ชี้เป็นการตลาดชั้นดี แต่ไม่ใช่ว่าทุกคน ทุกแบรนด์ จะทำแล้วได้ดี
เป็นที่ฮือฮาสุด ๆ ไปเลย กับกรณีของกล่องสุ่มพิมรี่พาย ที่จัดกล่องสุ่มและรหัส รวย1 ในราคา 100,000 บาท โดยที่มีคนแห่เข้ามาซื้อกันเพียบ จนทำเงินได้ร้อยล้านใน 10 นาที ซึ่งทางพิมรี่พายก็จัดหนักจัดใหญ่ ให้กล่องสุ่มไปก็มักจะได้รถยนต์ใหม่ป้ายแดง เครื่องสำอาง น้ำหอม ไอโฟน รวมมูลค่าแล้วก็เกินเงินแสนที่จ่าย ทว่า เรื่องนี้ก็ทำให้เกิดข้อสงสัย ว่าคนที่ได้ไปมีแต่คนดังในโลกออนไลน์ทั้งนั้น
ล่าสุด สำนักข่าวไทยพีบีเอส รายงานว่า ผศ.พิมพ์ สุ่นสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้วิเคราะห์ถึงกลยุทธ์กล่องสุ่มพิมรี่พายว่า นี่คือคอนเทนต์ใหม่ของตลาดดิจิทัล ที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกเร้าใจในการซื้อ เหมือนได้เสี่ยงโชค คนที่คิคคอนเทนต์นี้ แสดงว่ามีความคิดสร้างสรรค์ และคิดไปถึงผลลัพธ์ที่จะได้ รู้ว่าผู้ชมอยากได้อะไรบ้าง
นอกจากนี้ การที่พิมรี่พายคิดกล่องสุ่ม ยังทำให้มีชื่อเสียงมากขึ้น โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ขยายฐานลูกค้า คนที่ไม่รู้จักก็รู้จัก ซึ่งนักขายที่ทำคอนเทนต์แบบนี้ได้ ต้องมีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง และรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร อย่างไรก็ตาม ใครที่คิดจะทำกล่องสุ่มต้องระลึกว่า ไม่ใช่ใครก็สามารถทำได้ เพราะต้องมีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ฐานลูกค้าที่ดีก่อน ถ้าแบรนด์ไม่แข็งแกร่งไม่แนะนำให้ทำ และการทำกล่องสุ่มนั้น มันเป็นแค่เทรน แค่คอนเทนต์ในช่วงหนึ่งเท่านั้น
ด้าน พ.ต.ท. ปริญญา ปาละ รองผู้กำกับการ (สอบสวน) กองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวถึงข้อกฎหมายเกี่ยวกับกล่องสุ่มว่า คนที่เล่นกล่องสุ่มสามารถเล่นได้ แต่ต้องมีหน่วยงานเข้าไปกำกับด้วย ในประเทศไทยนั้น กล่องสุ่มยังไม่ได้รับการตรวจสอบมากนัก ซึ่งต้องแยกเป็น 2 กรณีคือ
- หากคนขายกล่องสุ่ม ไปขออนุญาตจากกระทรวงมหาดไทย ก็ถือว่าเล่นได้ ผู้เล่นก็จะถือว่าเป็นผู้บริโภค หากเกิดเหตุการณ์ที่กล่องสุ่มที่ได้ไม่เป็นอย่างที่คิด ผู้ซื้อก็จะได้รับการคุ้มครอง
- หากคนขายกล่องสุ่ม ไม่ขออนุญาตจากกระทรวงมหาดไทย การกระทำแบบนี้อาจเข้าข่ายการพนัน ถ้าสินค้าที่ได้ไม่เหมือนกับที่คาดหวัง ผู้ที่ซื้อก็จะไม่ได้รับการคุ้มครอง
อย่างไรก็ตาม หากสินค้าที่ซื้อมาแล้ว มีมูลค่าน้อยกว่าที่จ่าย คนขายก็จะเข้าข่ายฉ้อโกงประชาชน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคอีก ในส่วนของคนที่ขายกล่องสุ่ม แต่ไม่เป็นไปตามที่โฆษณา ผู้ได้รับความเสียหายสามารถนำเรื่องมาร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และหากพบการกระทำผิดบ่อยครั้ง เสียหายเป็นวงกว่าง คนขายจะเข้าข่ายฉ้อโกงประชาชน มีความผิดดังนี้
ขอบคุณ ไทยพีบีเอส