ม.33 ลองเช็คเงินช่วยเหลือรอบใหม่

ม.33 ลองเช็คเงินช่วยเหลือรอบใหม่

เปิดเงื่อนไข 9 กลุ่มอาชีพ ในพื้นที่ 10 จังหวัดสีแดงเข้ม ใครจะได้รับสิทธิ์เงินเยียวยารอบใหม่ 2,500 บาท กับ 5,000 บาท จากมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติมาตรการเยียวยาประชาชนรอบใหม่ในกลุ่มแรงงานที่ได้รับผลกระทบจาก ประกาศ เคอร์ฟิว และ "ล็อกดาวน์ เฉพาะในพื้นที่ 10 จังหวัด พื้นที่สีแดงเข้ม หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และ สงขลา โดยจะมีรูปแบบการให้ความช่วยเหลือที่แตกต่างกันไป ซึ่งจะต้องอยู่ใน 9 หมวดกิจกรรม หรือ 9 กลุ่มอาชีพ ดังนี้

1. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร

2. การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า

3. การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์

4. กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน

5. กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ

6. ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร

7. การก่อสร้าง

8. กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ

9. ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ (ตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่)

ผู้ประกันตน หรือผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม

1. ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่อยู่ในกิจการ 9 หมวด รัฐจะจ่ายเงินเยียวยาให้ 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) และจ่ายสมทบให้ลูกจ้างสัญชาติไทยที่ได้รับผลกระทบอีก 2,500 บาทต่อคน รวมแล้วได้สูงสุด 10,000 บาท แต่หากเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ไม่ได้รับผลกระทบจะไม่เข้าข่ายการเยียวยานี้ หรือในกรณีลูกจ้างติดโควิด-19 และต้องกักตัว 14 วัน ให้ถือว่าลูกจ้างอยู่ในสถานะป่วย และสามารถใช้สิทธิ์ลาป่วย หรือใช้สิทธิ์หยุดพักผ่อนประจำปีได้ ดังนั้น ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในช่วงเวลานี้ แต่หากต้องใช้เวลากักตัวมากกว่า 14 วัน ก็ยังถือเป็นการลาป่วยเช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามภาวะของโรค และมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างตามกฎหมาย

หรือในกรณีที่ลูกจ้างใช้สิทธิ์ลาป่วยในรอบปีครบ 30 วันแล้ว รวมทั้งลาหยุดพักผ่อนประจำปีครบแล้ว หากทางราชการมีคำสั่งให้หยุดเพื่อดูอาการ 14 วัน หรือบริษัทมีคำสั่งให้หยุดดูอาการถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาป่วยได้ โดยนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างได้ แต่จะถือว่าขาดงานไม่ได้ ให้ลูกจ้างไปใช้สิทธิ์เงินทดแทนจากประกันสังคมตามสิทธิ์ที่พึงได้ตามหลักเกณฑ์ที่ สปส. กำหนดแทน

2. นายจ้าง มาตรา 33 ในกิจการ 9 หมวด รัฐจะจ่ายให้ตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาทต่อคน สูงสุดไม่เกิน 200 คน

3. ผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 สัญชาติไทย จะได้รับความช่วยเหลือคนละ 5,000 บาท

ผู้ที่อยู่นอกระบบประกันสังคม

4. ผู้ที่อยู่นอกระบบมาตรา 33 หรือเป็นอาชีพอิสระ จะต้องเตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 กับสำนักงานประกันสังคม ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือจำนวน 5,000 บาท

5. ผู้ประกอบการ หรือ นายจ้าง ที่มีลูกจ้างแต่ปัจจุบันไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม จะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินช่วยเหลือ ดังนี้

นายจ้าง จะได้รับเงิน 3,000 บาทต่อหัวลูกจ้าง สูงสุดไม่เกิน 200 คน ลูกจ้างสัญชาติไทย จะได้รับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาทต่อคน

6. ผู้ประกอบการที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมและไม่มีลูกจ้าง ให้เตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 กับสำนักงานประกันสังคมภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือจำนวน 5,000 บาท

เยียวยาร้านค้ารายย่อย ถุงเงิน

7. ผู้ประกอบการในระบบ ถุงเงิน ใน 5 หมวด ภายใต้โครงการคนละครึ่ง และโครงการเราชนะ ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม, ร้าน OTOP, ร้านค้าทั่วไป ร้านค้าบริการ และ กิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่) ในปัจจุบันที่มีลูกจ้าง ให้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 โดยรัฐจะช่วยจ่ายเงิน ดังนี้ นายจ้างได้รับเงิน 3,000 บาทต่อลูกจ้าง สูงสุดไม่เกิน 200 คน ลูกจ้างสัญชาติไทย ได้รับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาทต่อคน

8. ผู้ประกอบการในระบบ "ถุงเงิน" ใน 5 หมวด ภายใต้โครงการคนละครึ่ง และโครงการเราชนะ ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม, ร้าน OTOP, ร้านค้าทั่วไป ร้านค้าบริการ และ กิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่) ในปัจจุบันที่ไม่มีลูกจ้าง ให้เตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 โดยรัฐบาลช่วยเหลือค่าใช้จ่าย 5,000 บาทต่อคน

สำหรับผู้ประกันตนม.33 ลองเช็คกันหรือยัง (เงินเยียวยารอบใหม่)

ถ้าได้รับสิทธิจะขึ้นได้รับสิทธิ

ผู้ประกันตนม.33 สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ คลิก

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ