กล้วยด่างโกอินเตอร์

กล้วยด่างโกอินเตอร์

เกษตรกรสวนกล้วยที่จังหวัดมหาสารคาม เร่งเพาะพันธุ์หน่อกล้วยด่างหลากหลายสายพันธุ์ นอกจากส่งขายในไทยก็ยังส่งไปประเทศเพื่อนบ้าน สร้างรายได้ให้ต่อเนื่อง ขณะที่โควิด-19 ระบาดระลอก 3 ทำให้ราคาปรับเพิ่มสูงขึ้น 10 เท่า สวนกล้วยดังกล่าว ชื่อ "ไร่เขยหล่าหมื่นแก้ว" ของ นางสาวเสาวภา หมื่นแก้ว อยู่ที่ตำบลนาโพธิ์ อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม ซึ่ง นางสาวเสาวภาพ บอกว่า ตัวเองผันตัวจากสาวโรงงานมาเป็นเกษตรกร สานต่อพื้นที่ 6 ไร่ ของครอบครัว จากปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรผสมผสาน โดยปลูกกล้วยสะสมไว้กว่า 60 ชนิด เพราะช่วยทำให้พืชอื่น ๆ เจริญเติบโตได้ดี และหลายส่วนของกล้วยก็ยังจำหน่ายได้หลากหลาย

ภาพจาก ช่อง 7

ภาพจาก ช่อง 7

ภาพจาก ช่อง 7

แต่ขณะนี้ได้เพาะพันธุ์กล้วยด่างกว่า 10 สายพันธุ์ โดยเริ่มจากไปขอซื้อหน่อกล้วยด่างมาในราคา 500 บาท ก่อนเพาะและขายราคา 1,500-3,000 บาท จากนั้นเพาะพันธุ์ต่อเนื่อง ขณะนี้มีพันธุ์กล้วยด่าง อาทิ ตานีด่าง แดงอินโด ฟอริดา เรดฮาวาย กระทั่งโควิด-19 ระบาดระลอก 3 ที่เคยคิดว่าเพาะพันธุ์กล้วยด่างเป็นรายได้เสริม ก็กลายเป็นรายได้หลัก

ภาพจาก ช่อง 7

เพราะราคากล้วยด่างสูงขึ้นจนไม่น่าเชื่อ โดยหน่อกล้วยด่างฟอริดาเพาะลงกระถาง ราคา 40,000 บาท มี 6 กระถาง, หน่อกล้วยตานีด่าง กระถางละ 35,000 บาท มี 4 กระถาง แต่ถูกจองหมดแล้ว ทำให้มีรายได้ในกระเป๋าแล้ว 380,000 บาท

ภาพจาก ช่อง 7

ส่วนกล้วยฟอริดาด่างช่วงนี้ลูกค้าจาก สปป.ลาว สนใจมาก และติดต่อให้จัดส่งจำนวน 3 ต้น ราคา 150,000 บาท, 120,000 บาท และ 170,000 บาท ซึ่งตนก็จะเดินทางไปส่งให้ถึงด่านชายแดนไทย-ลาว ที่จังหวัดหนองคาย ซึ่งตนก็ไม่รู้ว่ากระแสความนิยมกล้วยด่างมาจากไหน แต่ทำให้ตนมีรายได้ดีมาก ทั้งนี้ หากเพาะพันธุ์หน่อกล้วยขายไม่ทัน ก็นำเมล็ดกล้วยตานีด่างไปเพาะได้ ซึ่งตนขาย 12 เมล็ด ราคา 1,000 บาท แต่ละวันก็มียอดสั่งซื้อหลายร้อยชุด จนส่งแทบไม่ทันเช่นกัน

ภาพจาก ช่อง 7

ภาพจาก ช่อง 7

ภาพจาก ช่อง 7

ขอบคุณ รายการเช้านี้ที่หมอชิต

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ