ความหมายของ CPTPP

ความหมายของ CPTPP

จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจโดยมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นประธาน นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นเลขาฯ โดยนายสมคิดเป็นผู้ประสานงานให้กระทรวงพาณิชย์นำเรื่อง CPTPP หรือ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก เสนอวาระเข้า ครม ในวันที่ 28 เมย 63 นี้

ล่าสุด ภาคประชาชนได้ออกมาเรียกร้องให้กระทรวงพาณิชย์ถอนวาระนี้ออก เนื่องจากยังเห็นข้อบกพร่องในหลายๆ จุด และมองว่าประเทศจะเสียเปรียบหากมีการลงนามดังกล่าวไป ทั้งนี้หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP คืออะไร ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ รวบรวมข้อมูลได้ดังนี้

CPTPP ชื่อเต็ม Comprehensive and progressive agreement for transpacific partnership หรือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีผลบังคังใช้เมื่อวันที่ 30 ธค 61

สมาชิก CPTPP มีด้วยกัน 11 ประเทศ ดังนี้ ออสเตรเลีย แคนาดา เปรู นิวซีแลนด์ ชิลี เม็กซิโก ญี่ปุ่น บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม

ให้สัตยาบันแล้ว 7 ประเทศ คือ เม็กซิโก ญี่ปุ่น สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และเวียดนาม

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ มองว่า ถ้าไทยเข้าร่วมจะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้น เกิดการจ้างงาน 73370 ล้านบาท สินค้ามีโอกาสส่งออกเพิ่มขึ้น จากการที่เป็นสมาชิก CPTPP ต้องเปิดตลาดไทยมากกว่า FTA ในปัจจุบัน เช่น ไก่แปรรูป น้ำตาล ข้าว อาหารทะเล ผลไม้สด ผลไม้แห้ง รถยนต์และส่วนประกอบ ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และเครื่องแต่งกาย

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ มองอีกว่า หากไทยไม่ร่วมเข้า CPTPP จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตลดลง การจ้างงานและผลตอบแทนแรงงานจะลดลง 8440 ล้านบาท

แต่ในส่วนของภาคประชาชน มองว่า หากไทยเข้าร่วม CPTPP จะทำให้เกษตรกรไทยต้องเผชิญกับต้นทุนการเกษตรที่สูงขึ้น จากอนุสัญญาการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือ UPOV และอาจจะมีการเปิดโอกาสให้ต่างชาตินำเมล็ดพันธุ์พื้นเมืองของไทยไปวิจัยพัฒนา และเกิดการจดสิทธิบัตร อาจทำให้เกษตรกรไทยต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ในราคาที่สูงขึ้น

ปัญหาการเจรจาแบบ Negative List หรือ การเจรจรแบบระบุรายการแบบไม่เปิดเสรี อาจมีแรงกดดันให้ไทยต้องเปิดตลาดบริการมากขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงประเทศไทยไม่ได้เปิดเสรีในด้านนี้

เปิดโอกาสทางการแข่งขันให้นักลงทุนต่างชาติมากขึ้น ทำให้ไทยต้องเตรียมรับมือการเข้ามาของนักลงทุนต่างชาติ ที่สามารถฟ้องไทยผ่านกระบวนการอนุญาโตตุลาการได้

โดยนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ มองว่า การเข้าร่วม CPTPP นั้นจะเกิดการผูกขาดเมล็ดพันธุ์พืชสายพันธุ์ต่างๆ เพราะจะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์แพงขึ้น และอาจถูกฟ้องร้องละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาจากบรรดาบริษัทข้ามชาติ

เกษตรกรที่เลี้ยงสุกร จะได้รับผลกระทบไปด้วย อาจถึงขั้นต้องเลิกเลี้ยง โดยอาชีพต่อเนื่องของเกษตรกรที่ปลูกพืชอาหารสัตว์ก็จะได้รับผลกระทบด้วย

การเคลื่อนไหวของฝั่งรัฐบาล

นายอนุทิน ชาญวีรกูล ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาพูดเรื่องนี้ว่า ผมไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ และจะนำเสนอข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเต็มไปด้วยข้อห่วงใยและความกังวลที่จะมีผลกระทบต่อระบบการผลิตยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ ซึ่งจะต้องนำมาใช้ดูแลรักษาชีวิตและสุขภาพของคนไทย

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ก็มองว่า ข้อกังวลบางประเด็นของ CPTPP อาทิ การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ การเปิดตลาดให้กับสินค้าใช้แล้วที่นำมาปรับปรุงสภาพเป็นของใหม่ และการจัดซื้อจัดจ้างโดยภาครัฐ และข้อกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โรคระบาดโควิดในปัจจุบัน อาจจะไม่เหมาะสมกับเวลา แม้ว่าจะไม่ใช่การเข้าไปเป็นสมาชิกก็ตาม ล่าสุดมีรายงานว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทำการถอนวาระ CPTPP ออกจากการประชุม ครม วันที่ 28 เมย 63 นี้แล้ว

ขอบคุณ ไทยรัฐ

เรียบเรียง มุมข่าว

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ