เคาะแล้ว แจกเกษตรกร 5000 จำนวน 3 เดือน
เรียกได้ว่าถึงคิวเกษตรกรจริงๆเสียทีเพราะเกษตรกรก็ถือว่าเป็นกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อนหนักไม่แพ้อาชีพอื่น เมื่อวันที่ 22 เมย นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เตรียมเสนอมาตรการเช่วยเหลือเกษตรกร ตามจำนวนทะเบียนเกษตรกรที่ลงทะเบียนไว้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 9 ล้านทะเบียนเกษตรกร วงเงิน 5000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน หรือ 15000 บาทต่อทะเบียนเกษตรกร โดยเตรียมเสนอต่อคณะกรรมการกำกับดูแล ที่มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน ในวันที่ 23 เมย
ซึ่งมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรคาดว่าจะใช้เงินประมาณ 135000 ล้านบาท ผ่านบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธกส
ครอบครัวละ 5000 จำนวน 3 เดือน
สำหรับการลงทะเบียนขอรับการเยียวยาผ่านเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน มีการระบุว่าผู้ที่ลงทะเบียนมากกว่า 10 ล้านคนเป็นเกษตรกร ดังนั้นการหารือกับคณะกรรมการฯ เมื่อสัปดาห์ก่อน ได้ชี้แจงระบบการลงทะเบียนเกษตรกรว่า การลงทะเบียนผู้ที่เป็นเจ้าของทะเบียน ได้ลงชื่อลูกหลานเข้าไปด้วย ทำให้ใน 10 ล้านคน ระบบเอไอระบุว่ามีอาชีพเกษตรกร แต่ในจำนวนนั้นมีประมาณ 3ถึง4 ล้านคนเท่านั้น ที่เป็นเจ้าของทะเบียน เพื่อที่กระทรวงเกษตรฯ จะช่วยเหลือเอง ดังนั้นอีกประมาณ 6ถึง7 ล้านคน หากมีการอุทธรณ์ หรือกระทรวงการคลังให้ทบทวนสิทธิ์ กลุ่มนี้ต้องได้รับสิทธิ์เงินช่วยเหลือ 5000 บาทต่อเดือน
ที่ผ่านมามีการมองว่าภาคเกษตรไม่ได้รับผลกระทบจาก CO VID แต่เมื่อประกาศ พรก ฉุกเฉิน กิจกรรมทุกอย่างหยุดชะงักลง การเก็บเกี่ยวทำไม่ได้ การนำผลผลิตออกขายเป็นไปได้ลำบาก หากพิจารณาโดยลึกแล้วจะเห็นว่าเกษตรกรเป็นกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนอยู่แล้ว หากไม่ได้รับการช่วยเหลือเลยก็จะไม่ธรรมเมื่อเทียบกับอาชีพกลุ่มอื่น
ทั้งนี้มีเกษตรกรบางกลุ่มที่ไปขึ้นทะเบียนในโครงการเราไม่ทิ้งกัน แล้วถูกดีดออกจากบัญชีการช่วยเหลือนั้น กระทรวงเกษตรฯ ชี้แจงกับคณะกรรมการว่า ควรเปิดโอกาสเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของครัวเรือนให้อุทธรณ์และรับเงิน 5000 บาทดังกล่าวในกรณีที่เกษตรกรกลุ่มนี้ได้ประกอบอาชีพ ค้าขาย หรือขับแท็กซี่จริง
ต่อไปนี้การช่วยเหลือของกระทรวงเกษตรฯในมาตรการดังกล่าวจะช่วยตามรายทะเบียนที่มีประมาณ 9ถึง10 ล้านทะเบียนเท่านั้น ไม่นับเป็นราย ซึ่งจะมีมากกว่า 16ถึง17 ล้านราย แบ่งเป็นที่ขึ้นกับกรมส่งเสริมการเกษตร 6จุด1 ล้านทะเบียน ประมงไม่เกิน 1 ล้านทะเบียน ปศุสัตว์ 3 ล้านทะเบียน ซึ่งจะอัพเดททุกรอบการผลิต
นายอนันต์กล่าวว่า การช่วยเหลือดังกล่าวเป็นภาวะที่ได้รับผลกระทบ CO VID เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการประกันรายได้เกษตรกร ทั้งชาวสวนปาล์ม ยาง ข้าว มันสำปะหลัง ซึ่งยังเดินหน้าตามการประกันรายได้ต่อไป นอกจากนี้เกษตรกรอาจได้รับมาตรการฟื้นฟูเพิ่ม ในกรณีที่ผลผลิตได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติและอื่นๆ ที่เป็นมาตรช่วยเหลือปกติตามสถานการณ์
ขอบคุณ ข่าวสด
เรียบเรียง มุมข่าว